การส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าบุ่งป่าทาม สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พงศธร ภูการุณย์

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การอนุรักษ์, ป่าบุ่งป่าทาม, ความรู้, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ และทัศนคติต่อการอนุรักษ์ป่าบุ่งป่าทาม ก่อนและหลัง
การส่งเสริม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบสมัครใจเข้าร่วม เครื่องมือที่ใช้ใน
งานวิจัยประกอบด้วย คู่มือส่งเสริม แผ่นพับ แบบทดสอบความรู้ และแบบวัดทัศนคติต่อการอนุรักษ์ป่าบุ่งป่าทาม สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการ
ส่งเสริมนิสิตมีความรู้อยู่ในระดับต่ำ หลังการส่งเสริมนิสิตมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและ
หลังการส่งเสริม พบว่า นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยหลังการส่งเสริมมากกว่าก่อนการส่งเสริมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ก่อนการ
ส่งเสริมนิสิตมีทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย และหลังการส่งเสริมนิสิตมีทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อเปรียบเทียบคะแนน
เฉลี่ยก่อนและหลังการส่งเสริม นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27