Promoting Energy Conservation for students of Maha Sarakam University

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ กาละสุข

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์, การส่งเสริม, สภาพการอนุรักษ์, ความรู้, ทัศนคติ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติ ก่อนและหลังการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า และศึกษาความพึงพอใจต่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 397 คน และกลุ่มตัวอย่างที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือและแผ่นพับ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ และแบบวัด
ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test จากการศึกษาพบว่าการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าที่ นิสิตปฏิบัติมากที่สุดคือ ปิดตู้เย็นให้สนิทหลังการใช้งาน นิสิตส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูลการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า คือ โทรทัศน์ ก่อนการส่งเสริมนิสิตมีความรู้อยู่ในระดับมาก หลังการส่งเสริมนิสิตมีคะแนนความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า นิสิตที่เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังสูงกว่าก่อนการส่งเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนการส่งเสริมนิสิตมีทัศนคติอยู่ในระดับเห็นด้วย หลังการส่งเสริมนิสิตอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการส่งเสริม พบว่า นิสิตที่เข้ารับการส่งเสริมมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตที่เข้ารับการส่งเสริมมีความพึงพอใจต่อการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27