ผลของกระบวนการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีในเขตตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร ใจศิริ

คำสำคัญ:

cervical cancer, participatory and social support

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของกระบวนการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในเขตตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่สตรีกลุ่มเปูาหมายในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ สูตร ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 314 คน โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ สารวจและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย วางแผนและกำหนดแนวทาง การดำเนินการตามแผน และติดตามประเมินผลให้รางวัลเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ เครื่องมือในการจัดกิจกรรมคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในเขตตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ
สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความสัมพันธ์ด้วยค่าไคสแคว์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05
ผลการศึกษา 1. ผลการสารวจและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย พบว่า ข้อมูลทั่วไป พบว่า อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรส อายุเมื่อเริ่มแต่งงานและจำนวนครั้งในการตั้งครรภ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทางสังคม แต่ประวัติการปุวยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนทาง
สังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 แรงสนับสนุนทางสังคมกับการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคมในด้านอารมณ์ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านวัตถุสิ่งของ การเงินและแรงงานและ ด้านการประเมินผล มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 2. การการวางแผนและกำหนดแนวทาง ดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่า ภายหลังดำเนินการจัดประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันสามารถกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา 3. การดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในเขตตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด โดยกระบวนการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพ อสม. การอบรมสร้างความตระหนักให้สตรีกลุ่มเปูาหมาย การรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชน  4. ผลการติดตามประเมินผลให้รางวัล
โดยการจัดคลินิกบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสถานบริการทุกวันศุกร์โดยสหวิชาชีพและจัดหารางวัลสิ่งจูงใจ ให้สตรีกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการทุกคน และมอบใบประกาศให้กับ อสม.ที่สามารถสะสมแนะนำกลุ่มสตรีเป้าหมายมาตรวจได้มากที่สุด ร่วมกับการให้ทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกับทีม อสม. ออกติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่มารับบริการและกระตุ้นให้มารับบริการ พบว่า กลุ่มสตรีเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมด จำนวน 1,115 ราย จากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1,467 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27