รูปแบบการบริหารจัดการตามนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการ, นโยบายการพัฒนา, ระบบสุขภาพระดับอำเภอบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน(plan) การปฏิบัติ (act) การสังเกต (observe) และการสะท้อนผลการปฏิบัติ (reflect) ตามหลักของ Kemmis และ McTaggart มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ตามนโยบายการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดย คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการระบบสุขภาพระดับอำเภอจำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึง กันยายน 2560 โดยการศึกษาบริบทของพื้นที่ สนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตแบบมีส่วนร่วม ถอดบทเรียน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพผลการศึกษาพบว่า กระบวนการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาบริบทของพื้นที่ 2) ประชุมถกปัญหา 3) คืนข้อมูลให้พื้นที่รับรู้ปัญหา 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 5) มอบหมายภารกิจที่รับผิดชอบ 6) ดำเนินการตามแผนที่กาหนด 7) ติดตามและประเมินผล 8) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 9) ถอดบทเรียน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ระดับการมีส่วนร่วม และระดับความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้การประเมินผลการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับ 4 หรืออยู่ในระดับมากโดยสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การมีนโยบายสนับสนุนจากระดับจังหวัดอย่างชัดเจน และมีการแปลงนโยบายในระดับพื้นที่อย่างสอคล้องกันคือ การสร้างทีมนาที่เข้มแข็ง สร้างเครือข่ายในการดำเนินงานและการมี
ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง