การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในคน อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • พันธุ์ทอง จันทร์สว่าง
  • ถนอม นามวงศ์
  • นรรถฐิยา ผลขาว

คำสำคัญ:

ระบบเฝ้าระวัง, พิษสุนัขบ้าในคน, ยโสธร

บทคัดย่อ

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดยโสธร ปี 2561 พบผู้เสียชีวิต 1 ราย และพบเชื้อพิษสุนัขบ้าในสัตว์กว่า 60 ตัวอย่าง คนที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าส่วนหนึ่งไม่ไปฉีดวัคซีน ซึ่งอาจทำให้มีผู้เสียชีวิตรายต่อไป จึงได้พัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในคนขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและ
ประเมินประสิทธิผลของระบบเฝ้าระวังระบบที่พัฒนาขึ้น ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ และสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมเสี่ยง และแบบสำรวจข้อมูล ศึกษาในเดือน กุมภาพันธ์ –พฤษภาคม 2562 ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ z-test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าได้รับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 68.09 ด้านความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนทัศนคติส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง สัตว์เลี้ยงได้รับการฉีดวัคซีนร้อยละ 73.66 จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้ร่วมกันวางแผนพัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในคนขึ้นโดยประยุกต์ใช้ แอบพลิเคชั่นไลน์ และ Google app จากนั้นอบรมเครือข่ายในชุมชน สร้างคู่มือ และทดลองใช้ ซึ่งพบว่าภายหลังการวิจัยสามารถติดตามผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าให้เข้ารับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 76.62 เป็นร้อยละ 94.44 (proportion diff 17.82, 95%CI 8.83 to 26.81, P0.014) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานพบว่าอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ควรนำรูปแบบของระบบเฝูาระวังโรคจากการศึกษานี้ไปปรับใช้ในพื้นที่อื่นหรือโรคและภัยสุขภาพอื่น ๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01

How to Cite

จันทร์สว่าง พ., นามวงศ์ ถ., & ผลขาว น. (2022). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในคน อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 4(2), 1–11. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/709