ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ และทัศนคติกับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนต้นในเขตอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • มุกดา สุขเกษม
  • สุดารัตน์ ชนะชัยสิงห์
  • นิตยา แสงประจักษ์

คำสำคัญ:

ความรู้, การรับรู้, ทัศนคติ, การป้องกัน, การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Study) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนในเขตอำเภอนามน ได้แก่ โรงเรียนมอสวนขิงพิทยาสรรพ์และโรงเรียนนามนพิทยาคม จำนวน 257คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าต่าสุด ค่าสูงสุดและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ Chi square test, Odd Ratio (OR) และช่วงเชื่อมั่นที่ 95% CI กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา: พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ56.4 อายุเฉลี่ย14 ปี (S.D.= 0.841 ต่ำสุด = 12 ปี สูงสุด = 16 ปี ส่วนใหญ่มีค่านิยมจะรักษาความบริสุทธิ์จนกว่าจะแต่งงาน ร้อยละ61.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์พบว่าเพศ (OR=.390; 95% CI=.233-.654, p–value <0.001) ค่านิยมเรื่องเพศ
(OR=0.423;95% CI=0.249–0.716 p–value = 0.001) การรับรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (OR=3.001 ; 95%CI =1.323-6.810, p–value = 0.006) และทัศนคติในเรื่องการปูองกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (OR =4.898 ;95%CI = 2.728-8.796, p–value <0.001) มีความสัมพันธ์กับการป้องกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01