ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้าน, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, ภาวะแทรกซ้อนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำ วันและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตาม
เกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติแมน-วิทนีย์(Mann whitney- U test)และไคสแควร์(Chi-square test) ผลการศึกษา พบว่า หลังจำหน่าย 1 เดือนกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<.05) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งสองกลุ่มไม่มีภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบและไม่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มทดลองไม่มีภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับแต่กลุ่มควบคุมมีภาวะแทรกซ้อนแผลกดทับ จำนวน 6 ราย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P<.05)