การพัฒนาถุงตวงเลือด Alert safety bag ร่วมกับการใช้ CPG Alert PPH ต่อคุณภาพการ วินิจฉัย และรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกโรงพยาบาลชานุมานจังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • อรทัย บัวคำ

คำสำคัญ:

Alert safety bag, ตกเลือดหลังคลอดระยะแรก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาถุงตวงเลือด Alert safety bag ร่วมกับการใช้ CPG Alert PPH ต่อคุณภาพการวินิจฉัยและรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกโรงพยาบาลชานุมานจังหวัดอำนาจเจริญกลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่อายุครรภ์ครบกำหนดคลอด
จำนวน 76 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 38 รายและกลุ่มทดลอง 38 รายเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามกรอบเวลา (Time Frame) คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม Power and Sample Size Program โดยกลุ่มทดลองได้รับการตวงเลือดโดยใช้ถุงตวงเลือด Alert safety bag ที่พัฒนาขึ้น ร่วมกับ CPG Alert PPH ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการตวงเลือดโดยใช้เหยือกตวงเลือดแบบเดิมร่วมกับ CPG Alert PPH เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลการคลอด และการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่าการใช้ถุงตวงเลือดAlert safety bag ร่วมกับการใช้ CPG Alert PPH ในการวินิจฉัยภาวะตกเลือดหลังคลอด สามารถตวงเลือดได้มากกว่าการใช้เหยือกตวงเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ส่งผลให้ไม่มีมารดาที่ได้รับการส่งต่อ มีระยะเวลานอนโรงพยาบาลของมารดาที่ตกเลือดหลังคลอดเฉลี่ย (2.00 +0.00 วัน)น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (2.66+0.32 วัน) อัตราการตกเลือดหลังคลอดในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมร้อยละ 5.26 และ 7.89 ตามลำดับ ความพึงพอใจต่อการใช้ถุงตวงเลือด Alert safety bagร้อยละ 100 ดังนั้นจึงควรนำถุงตวงเลือด Alert safety bag ไปใช้ในมารดาคลอดทุกราย เพื่อให้สามารถตวงเลือดได้แม่นยำและให้การดูแลรักษาตาม CPG Alert PPH และควรมีการเผยแพร่ให้กับหน่วยงานห้องคลอดในเครือข่ายในเขตบริการสุขภาพที่ 10 และในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04