กระบวนการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมโดยใช้นวัตกรรมปลากระดี่กินลูกน้ำ อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
โรคไข้เลือดออก, กระบวนการพัฒนา, การมีส่วนร่วม, นวัตกรรมปลากระดี่กินลูกน้ำ, อำเภอนามนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์โรคไข้เลือดออก กระบวนการ การพัฒนา และผลของกระบวนการแก้ไขปัญหาโดยใช้นวัตกรรมปลากระดี่กินลูกน้ำแบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนและภาคีเครือข่ายในชุมชนเขตพื้นที่อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 585 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบรายงาน แบบสารวจ แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair – t test และ Independent t test
ผลการศึกษา ทำให้เกิด กระบวนการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมโดยใช้นวัตกรรมปลากระดี่กินลูกน้ำ อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ดังนี้ 1) การทางานร่วมกันในระดับอำเภอโดยเปิดศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเมื่อมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก มีการประชุมวิเคราะห์สถานการณ์ การมีระบบรายงานแจ้งข่าวการระบาดโดยทีมตระหนักรู้ การขับเคลื่อนนโยบายนวัตกรรมปลากระดี่กินลูกน้ำลงสู่ชุมชน 2) การตอบสนองความต้องการผู้รับบริการโดยการสนับสนุน ความต้องการของชุมชนในการใช้ปลากระดี่แทนสารเคมีทรายเทมิฟอส สนับสนุนสร้างบ่อพักปลากระดี่ในชุมชน 3) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชนโดยการออกหาปลากระดี่ร่วมกันแล้วนำมาแจกจ่ายใช้ในชุมชน 4) การทำงานจนเกิดคุณค่าทั้งกับผู้รับบริการ และ ตัวผู้ให้บริการเอง โดยการรณรงค์กาจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและใช้ปลากระดี่กินลูกจากคนในชุมชนเอง 5) การแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากรเมื่อมีการระบาดสามารถเรียกใช้กำลังพลทั้งหมด มีการอบรม เจ้าหน้าที่ จิตอาสา และ อสม. ครอบคลุมทั้งหมด 6) การให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น โดยให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ตลอดเวลา เมื่อเกินกาลังสามารถส่งต่อได้ทันเวลา ภายหลังการดำเนินมาตรการ พบว่าจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง ปี 2559-2561 มีจำนวนผู้ป่วย 21 ราย 36 ราย และ 5 ราย ตามลำดับ ไม่พบรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ในปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วยเพียง 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 12.76 ต่อประชากรแสนคน ต่ากว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังร้อยละ 83.3 และจากการพยากรณ์พบว่าการระบาดมีแนวโน้มลดลง (Exponential smoothing, y = 127.99 - 0.272x) การทดลองประสิทธิภาพของปลาล่าเหยื่อผิวน้า 13 ชนิด พบว่าปลาหมอสามารถกินลูกน้ำมากที่สุด 931.54 ตัว/วัน (Mean±SD= 27,946.
20±480.22) รองลงมาคือปลากระดี่ สามารถกินลูกน้ำได้ 184.50 ตัว/วัน (Mean±SD= 5,535.00±56.63) และ ปลาบู่สามารถกินลูกน้ำได้ 180.34 ตัว/วัน (Mean±SD= 5,410.10±109.39) จากการทดลองนำไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างปี 2558-2560 จำนวน 585 หลังคาเรือน พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (House Index; HI) มีค่า 9.82, 6.52, 2.36 ตามลำดับ และค่าชี้วัดความชุกของลูกน้ำยุงลายต่อภาชนะ (CI) มีค่า 8.67, 8.58, 2.36 ตามลำดับ ซึ่งได้ผลดีและลดลงอย่างต่อเนื่องไม่เกินค่ามาตรฐาน การทดสอบคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมต่อนวัตกรรมปลากระดี่กินลูกน้ำพบว่าระดับความพึงพอใจในปี 2559-2560 อยู่ในระดับ 4 (31.96 และ31.96 คะแนน) เพิ่มขึ้นเป็นระดับ 5 ในปี 2561 (42.06 คะแนน) ปี 2559 เทียบกับ ปี 2561 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 31.96 เป็น 42.06 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, t = -28.23) และ ทั้ง 5 ด้านมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้าน
ประสิทธิภาพของนวัตกรรมปลากระดี่ควบคุมลูกน้ำได้ดีกว่าทรายเทมีฟอส (p<0.05, t = -23.01) รองลงมาคือด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีส่วนร่วม (p<0.05, t = -22.84) และ ด้านความปลอดภัยสามารถใช้นวัตกรรมได้โดยไม่เกิดอันตราย (p<0.05, t = -21.07) เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างภาคีเครือข่ายกับประชาชน พบว่ากลุ่มภาคีเครือข่ายมีคะแนน 37.03 สูงกว่า กลุ่มประชาชนซึ่งมีคะแนน 35.55 (t = -4.26) โดยไม่พบความแตกต่างทางสถิติ