การพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วันทนา ไพศาลพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกู่แก้ว

คำสำคัญ:

การป้องกันการบาดเจ็บทางถนน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation Influence Control Technique : A-I-C) ระยะเวลาทำการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม
2561 – 15 พฤษภาคม 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ กำหนดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร คิดเป็นกลุ่มตัวอย่างได้ 76 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ในหน่วยงานระดับอำเภอและตำบล เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติ t-test

     ผลการศึกษาพบว่า มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยจัดทาระบบติดตามการดำเนินงานของอำเภอและสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่พื้นที่และเชิดชูเกียรติแก่หน่วยงาน โดยการมอบโล่เกียรติคุณระดับกระทรวงฯ สาหรับอำเภอที่ดำเนินงานผ่านเกณฑ์ประเมินระดับดีเยี่ยม (Advanced) ส่วน ผลการดำเนินงาน
พบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนลดลง การมีส่วนร่วมของเครือข่ายป้องกันการบาดเจ็บทางถนนอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของเครือข่ายป้องกันการบาดเจ็บทางถนนต่อการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการป้องกันการบาดเจ็บทางถนนอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06