ผลของโปรแกรมการดูแลโดยญาติมีส่วนร่วมในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของการคลอดต่อความเครียด ความเจ็บปวด และความก้าวหน้าของการคลอด

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ ด้วงคำภา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย

คำสำคัญ:

ความเครียด, ความเจ็บปวด, ความก้าวหน้าของการคลอด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของผลของโปรแกรมการดูแลโดยญาติมีส่วนร่วมในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของการคลอดต่อภาวะเครียด ความเจ็บปวด และความก้าวหน้าของการคลอด เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง ( Quasi-Experimental Design ) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของการคลอดโดยญาติมีส่วนร่วมโดยใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบบันทึกการคลอด ร่วมกันในการประเมิน ซึ่งศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้คลอดที่มา
คลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลโกสุมพิสัย อาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยดาเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 - ธันวาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1 ) แบบบันทึกการคลอด ( อ้างใน: แบบบันทึกการคลอด โรงพยาบาลโกสุมพิสัย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2559 ) ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล อายุ เชื้อชาติ ประวัติการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ ระดับการศึกษา น้ำหนัก, ส่วนสูงของผู้คลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด 2 ) แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินความเครียด ( อ้างใน: กรมสุขภาพจิต )

     ผลการศึกษาพบว่า ผู้คลอดกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยโปรแกรมการดูแลในระยะปากมดลูกเปิดเร็วโดยญาติมีส่วนร่วม มีระดับความเครียด และระดับคะแนนความเจ็บปวดขณะรอคลอดต่ากว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกลุ่มที่ได้รับการดูแลโดยโปรแกรมการดูแลในระยะมดลูกเปิดเร็วของการคลอดโดยญาติมีส่วนร่วมและกลุ่มที่ดูแลตามปกติมีระยะเวลาขณะรอคลอดไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมการดูแลใน
ระยะปากมดลูกเปิดเร็วของการคลอดโดยญาติมีส่วนร่วมในผู้คลอดเป็นทางเลือกที่น่านำมาพัฒนาใช้ในการลดระดับความเครียดและลดความเจ็บปวดของผู้คลอดโดยไม่ใช้ยา ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบคุณภาพทางการพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-15

How to Cite

ด้วงคำภา อ. (2022). ผลของโปรแกรมการดูแลโดยญาติมีส่วนร่วมในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของการคลอดต่อความเครียด ความเจ็บปวด และความก้าวหน้าของการคลอด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(2), 1–8. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/762