ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการควบคุมระดับความดันโลหิต

ผู้แต่ง

  • อังศุมาลิน โคตรสมบัติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง) โรงพยาบาลยโสธร
  • เบญจรัตน์ เสงี่ยมวิบูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง) โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง, การควบคุมระดับความดันโลหิต

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการควบคุมระดับความดันโลหิตและวิเคราะห์ผลจากการวิจัยเพื่อนำไปศึกษาดำเนินการวิจัยและพัฒนาในโครงการวิจัยรองระยะที่สอง การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561-มกราคม 2562 การวิจัยดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มศึกษาความดันโลหิตสูง จำนวน 117 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ในคลินิกความดันโลหิตสูง งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยโสธรโดยใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพแบบสอบถามการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยในการควบคุมระดับความดันโลหิตแบบสัมภาษณ์การรับประทานยาควบคุมความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ผลการวิจัยหลังเสร็จสิ้นการวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยพัฒนาต่อยอดเป็นโครงการวิจัยรองระยะที่สองแบบวิจัยและพัฒนา

     ผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 65.80 ระดับการศึกษาเรียนจบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 88.90 ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 50.40 ระยะเวลาของการเจ็บป่วยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 62.20 กลุ่มศึกษามีดัชนีมวลกายสูงกว่าค่าปกติ ร้อยละ 64.10 ความดันโลหิตค่าซิสโตลิคสูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท ร้อยละ 68.40 ความดันโลหิตค่าไดแอสโตลิคสูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ร้อยละ 29.90 การปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต ; 1) ด้านการบริโภคอาหาร พบว่ากลุ่มศึกษาส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารหมักดองสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 83.80 , ใช้ผงชูรส 6-7 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 88.0 ,และชอบรับประทานอาหารที่มีไขมัน ได้แก่อาหารประเภทผัด ทอดสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ62.40 รับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ร้อยละ 60.70 ; 2) ด้านการออกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ออกกำลังกายเป็นประจำ ร้อยละ
74.40 ; 3) ด้านอารมณ์และการจัดการกับความเครียด กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่ สามารถจัดการกับความเครียดได้เป็นประจาร้อยละ 75.20 ; 4) ด้านการจัดการความเจ็บป่วยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ลืมรับประทานยา 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ร้อยละ 41.90 และรับประทานยาไม่ตรงเวลาเพราะรอตามระยะเวลาที่ได้รับอาหารซึ่งไม่ตรงเวลาตามกำหนดการของยา และรองลงมาพบว่าความดันโลหิตควบคุมได้ดีจึงงดยาลดความดันโลหิตด้วยตนเอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23