การพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019

ผู้แต่ง

  • ณกานต์ชญาน์ นววัชรินทร์ สาขาบริหารการพยาบาล
  • สุดฤทัย รัตนโอภาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร
  • สุพาณี น้อยเอียด บริบาลเภสัชกรรม โรงพยาบาลปากน้ำชุมพร

คำสำคัญ:

บริการทางโทรศัพท์, โรคเบาหวาน, โควิด-19, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย 4 ระยะได้แก่ 1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา สถานการณ์และประเมินความต้องการที่จำเป็น รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ความเป็นไปได้ และการทบทวนวรรณกรรม 2) ออกแบบและพัฒนาระบบการให้บริการทางโทรศัพท์ 3) ทดลองใช้รูปแบบระบบการให้บริการทางโทรศัพท์ที่สร้างขึ้น 4) ประเมินผลและปรับปรุงระบบบริการทางโทรศัพท์ให้เหมาะสม พร้อมใช้ และขยายผล โดยดำเนินการวิจัยระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 – วันที่ 30 กันยายน 2563 ที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลปากน้าชุมพรและเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพระดับรอง ตำบลปากน้ำชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

     ผลการศึกษา การพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์ เพื่อลดการเดินทางออกจากบ้านไปใช้บริการโรงพยาบาล ลดการรวมตัวและความ
แอแออัดในหน่วยบริการ ลดความเสี่ยงจากการสัมผัสและติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทำให้ระบบบริการสุขภาพยังดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมข้อมูล 2) ขั้นปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพ ซักประวัติ การให้คำปรึกษา แก้ไข ปัญหา อุปสรรค การนัดหมาย และการจัดส่งยาทางไปรษณีย์ 3) ขั้นประเมินผล เก็บข้อมูลความพึงพอใจหลังได้รับบริการทางโทรศัพท์ จากผลการให้บริการทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่ามีผลระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารไม่แตกต่างจากในสถานการณ์ปกติ ส่วนระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม พบว่ากลุ่มที่ควบคุมโรคได้ดี มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหลังการให้บริการทางโทรศัพท์เพิ่มขึ้นจากก่อนการให้บริการทางโทรศัพท์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-4.747 p=.000) ส่วนกลุ่มที่ควบคุมได้ปานกลางมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหลังการให้บริการทางโทรศัพท์ ไม่แตกต่างกัน (t=-.795 p=.430) และกลุ่มที่ควบคุมโรคไม่ดีมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหลังการให้บริการทางโทรศัพท์ลดลงจากก่อนการให้บริการทางโทรศัพท์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.646 p=.001) มีความพึงพอใจต่อการให้บริการทางโทรศัพท์อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

     สรุป การพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นระบบบริการที่มีความเหมาะสม สอดคล้องบริบท ปัญหาและสถานการณ์ สามารถนำมาใช้ใด้จริงในเครือข่ายโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร เป็นการพัฒนากระบวนการทำงานรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยปฏิบัติในเครือข่าย สามารถนำระบบบริการทางโทรศัพท์มาให้บริการในโรงพยาบาลขนาดเล็ก และผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่ติดเตียง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เดินทางไม่สะดวก ผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น ทั้งในสถานการณ์ปกติ หรือในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคอื่น ๆ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-25

How to Cite

นววัชรินทร์ ณ., รัตนโอภาส ส., & น้อยเอียด ส. (2022). การพัฒนาระบบบริการทางโทรศัพท์ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(1), 40–51. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/865