การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • พรเพ็ญ จั่นแก้ว โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย, กรณีศึกษา, การพยาบาล

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค การรักษา และการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในระยะเฉียบพลัน และศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในกรณีศึกษา 2 ราย วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเป็นรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 ราย ดำเนินการศึกษาระหว่าง เดือนสิงหาคม 2562 – มีนาคม 2563

     ผลการศึกษา : จากการศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 2 ราย พบว่า รายที่ 1 ผู้ป่วยชาย อายุ 70 ปี มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ใจสั่น รู้สึกหน้ามืดจะเป็นลม ก่อนมาโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง มีประวัติเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เกาต์ และไตวายเรื้อรัง ได้รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาล ถึงโรงพยาบาลได้รับยาละลายลิ่มเลือด (Streptokinase) ขณะได้รับยาเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น (Cardiac arrest) ได้รับการช่วยชีวิต และดูแลตามแผนการพยาบาลทั้งหมด 5 แผน ไม่สามารถเปิดหลอดเลือดหัวใจได้ ประสานส่งต่อไปโรงพยาบาลวิชัยเวช เพื่อทา PCI ผู้ป่วยรายที่ 2 ผู้ป่วยชาย อายุ 47 ปี มาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย ปวดท้องน้อย เวียนศีรษะ ก่อนมาโรงพยาบาล 30 นาที ไม่มีประวัติมีโรคประจาตัว ถึง ER ผู้ป่วยยังมีเจ็บแน่นหน้าอก EKG ยังมี ST Elevation, ST Depression ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด และAdmitted หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ได้ปรับแผนในการดูแลผู้ป่วย และให้การพยาบาลตามแผนการรักษา 4 แผน จากการติดตาม พบว่า ประสบความสาเร็จในการเปิดหลอดเลือดหัวใจได้ สังเกตอาการที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 2 วัน ย้ายออกไป Ward สามัญ จำหน่ายกลับบ้านได้ในวันที่ 5 หลังจาก Admitted และนัด 2 สัปดาห์ให้ได้พบแพทย์เฉพาะทาง Cardiac intervention

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

จั่นแก้ว พ. (2022). การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 6(2), 14–22. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/871