ปัจจัยทำนายผลกระทบต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก ศิริวัฒนกาญจน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนายผลกระทบ, ผู้ป่วยเบำหวำนชนิดที่ 2, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

     การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการป่วยและผลตรวจทางคลินิกระหว่างการรักษาในปี 2561 กับ ปี 2563 และวิเคราะห์ปัจจัยทานายผลกระทบต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (T2DM) ในเดือนกรกฎาคม 2564 เกณฑ์การคัดประชากรเข้าศึกษา (Inclusion criteria) คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ที่เข้ารับบริการรักษาแบบต่อเนื่อง ปี 2561-2563 ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดอุดรธานี ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 35 ปีขึ้นไป และมีข้อมูลครบถ้วนตามตัวแปรที่กำหนดไว้ มีจำนวน 11,646 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลทุติยภูมิจากบันทึกรายงานทางอิเล็คทรอนิคของผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จำนวน 20 แห่ง โดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired-sample T-test วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกหลายกลุ่ม (Multinomial Logistic regression), odds ratios (OR) และ 95% Confidence Interval

     ผลการศึกษาพบว่า ผลการรักษาระหว่างปี พ.ศ. 2561 กับ 2563 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 เรียงลำดับแตกต่างมากไปน้อย ดังนี้ ผลการรักษาดีขึ้น ได้แก่ HDL-cholesterol ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3, การกรองไต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ผลการรักษาไม่ดีขึ้น ได้แก่ รอบเอว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4, ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6, BMI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5, cholesterol total เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9, ระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3, โปรตีนแอลบูมิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2, LDL เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำนายการเกิดไตเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 8 ตัว จาก 13 ตัว โดยรวมทำนายได้ 2.08 เท่า (OR 2.08, 95%CI: 1.01-1.40, p=<0.001) เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ BMI เสี่ยงต่อการเกิดไตเรื้อรัง 1.19 เท่า (OR 1.19), HbA1c 1.13 เท่า (OR 1.13), เพศ 0.86 เท่า (OR 0.86), รอบเอว0.74 เท่า (OR 0.74), Cholesterol total 0.55 เท่า (OR 0.55), โรคร่วม 0.45 เท่า (OR 0.45), ระยะเวลาป่วยเบาหวาน 0.40 เท่า (OR 0.40), อายุ 0.24 เท่า (OR 0.24) และ Serum-creatinine 0.17 เท่า (OR 0.17)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26