ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลบางปะกง
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, การตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) ด้วยการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน การตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอดโรงพยาบาลบางปะกง วิธีการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน นามาตอบในแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ เวชระเบียนข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลบางปะกง และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะตกเลือดหลังคลอด ทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2563 รวม 5 ปี โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 139 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบเก็บข้อมูลการตกเลือดตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกใน ห้องคลอด (Postpartum Hemorrhage Prevention Nursing Guideline) โรงพยาบาลบางปะกง ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence ) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ แบบ nonparametric ได้แก่ chai square
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลบางปะกง ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ทักษะการประเมินปัจจัยเสี่ยงและทักษะทางการพยาบาล ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลบางปะกง พบว่า การได้รับการดูแลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดกับความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอด ในระยะที่ 3 ของการคลอด (ระยะคลอดรก) ด้านทักษะการประเมินปัจจัยเสี่ยงในการคลอดรกไม่เกิน 30 นาที มีความสัมพันธ์กันกับความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในระยะ 2 ชั่วโมง หลังคลอด พบว่า ทักษะการประเมินปัจจัยเสี่ยงในการสูญเสียเลือดตั้งแต่ 300 ซีซี และด้านการให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก พบว่า มีความสัมพันธ์กันกับความรุนแรงของการตกเลือดหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05