การพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • อุษนีย์ รามฤทธิ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk Score) ในปี 2563 และมารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเรณูนคร จังหวัดนครพนม จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดาเนินการครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและการจัดการอารมณ์ ผลลัพธ์ทางคลินิกและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอีก 10 ปี ข้างหน้า วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้ค่าจำนวน ร้อยละ, พฤติกรรมสุขภาพการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและการจัดการอารมณ์ ใช้ค่าจำนวน ร้อยละและค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกก่อน-หลัง เข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติ Pair t-test

     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ก่อน-หลัง การเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ไขมันคเลสเตอรอล และโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอีก 10 ปีข้างหน้า (CVD Risk Score) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26