การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วัลลภา ทองศรี

คำสำคัญ:

การพยาบาลแบบประคับประคอง, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, ภาวะน้ำเกิน, การล้างไตทางช่องท้อง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง

กรณีศึกษา: กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทย อายุ 48 ปี ปฏิเสธการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ตรวจพบโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายประมาณ 3 ปี บำบัดด้วยวิธีล้างไตทางหน้าท้อง เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ด้วยอาการปวดจุกแน่นท้อง 3 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ได้ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย ในระยะก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังการตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็ว เหมาะสม โดยพยาบาลประเมิน คัดกรอง ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ป้องกันภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน แพทย์วินิจฉัย มีภาวะน้ำเกิน ร่วมกับภาวะเลือดจาง หลังได้รับการตรวจรักษา แพทย์ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม ประสานการส่งต่อผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล ได้ติดตามผู้ป่วยในขณะที่นอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำหน่ายกลับบ้านรวมอยู่โรงพยาบาล 3 วัน แพทย์นัดติดตามผลการรักษาที่ห้องผู้ป่วยนอก และได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบประคับประคอง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30