แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ภรณ์อนงค์ กุลเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, แรงจูงใจ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, (COVID-19)

บทคัดย่อ

     การศึกษาเรื่องแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ความสัมพันธ์ของแรงจูงใจกับการปฏิบัติงานและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นการศึกษาเชิงสารวจ รวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 340 ตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าสถิติในการทดสอบความแตกต่างใช้สถิติ t-test และ F–test ทดสอบแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีการทดสอบ Least Significant Difference (LSD) test และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

     ผลวิจัยพบว่า สถานภาพ รายได้เฉลี่ยเดือน ตำแหน่งหน้าที่ในชุมชน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และการได้รับการฝึกอบรม/ฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีความแตกต่างกัน ส่วนแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านค่าป่วยการ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านการนิเทศติดตาม มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขโดยด้านการนิเทศติดตามมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รองลงมา ด้านสภาพการปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและแรงจูงใจในด้านค่าป่วยการ มีอิทธิพลเชิงลบต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปัญหาและอุปสรรคคือ วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ และค่าตอบแทนไม่เหมาะสมกับภาระงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26