การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ในรักษ์สุขภาพ โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ภัทรกันย์ วงค์ตาหล้า โรงพยาบาลนาแก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ป่วยเอดส์, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, ยาต้านไวรัสเอดส์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ และเพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ในคลินิกรักษ์สุขภาพโรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ ตามคุณสมบัติที่กาหนด จำนวน 30 คน ระยะในการศึกษาเวลา 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินสุขภาพทั่วไป แบบประเมินความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเอดส์ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ แบบประเมินความสม่าเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ และแบบประเมินความพึงพอใจ

     ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ระยะเวลาที่กลุ่มตัวอย่างทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีต่าสุด 1 ปี สูงสุด 15 ปี ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านไวรัสหลังการเข้าร่วมวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าเฉลี่ยความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์มีค่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 91.6 (S.D. = 2.5 ) เป็นร้อยละ 98.9 ( S.D. = 1.2 ) และ ดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI) มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 20.8 กิโลกรัม/เมตร2 ( S.D. = 2.6 ) เป็น 21.2กิโลกรัม/เมตร2 (S.D. = 2.4 ) และระดับภูมิคุ้มกัน CD4 Lymphocyte มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 396.5 เซลล์/มม.3 (S.D. = 203.2 ) เป็น 500.9 เซลล์/มม.3 (S.D. = 190.0 ) ซึ่งมีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจหลังการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ในคลินิกรักษ์สุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26