การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • มนัญชัย รูปต่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น โดยดำเนินการจากการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเครื่องมือ 5 ชิ้น ของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ภายใต้กรอบกิจกรรม 9 กิจกรรม (D-RTI PLUS) และเปรียบเทียบสถิติอัตราตายจากอุบัติเหตุทางถนน กลุ่มตัวอย่างคือ คณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอมัญจาคีรี คณะอนุกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุทางถนน ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานอุบัติเหตุจราจรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารหรือผู้รับผิดชอบงานอุบัติเหตุจราจรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้นำชุมชน จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ (D-RTI ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ T-Test ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน อำเภอมัญจาคีรี ดำเนินงานภายใต้กรอบกิจกรรม 9 กิจกรรม (D-RTI PLUS) ดังนี้ 1)มีการจัดตั้งคณะทำงาน Core Team และมีการประชุมการขับเคลื่อนวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมของทีมสหสาขา (พชอ./ศปถ.อำเภอ) 2)มีข้อมูลเฝ้าระวังและจัดทำสถานการณ์ ปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิต 3)มีการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางถนน โดยใช้ตาราง Haddon’s Matrix  4) คัดเลือกประเด็นปัญหา วิเคราะห์ปัจจัยและสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน 5)กำหนดเป้าหมายวิธีการแก้ไขปัญหานำมาสู่แผนงาน/ โครงการ/มาตรการและผลลัพธ์   6)มีการจัดตั้งทีมระดับท้องถิ่น/ตำบล (RTI-Team) หรือ ศปถ.อปท. พร้อมกับการจัดการข้อมูลเฝ้าระวัง และจัดทำสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตระดับตำบล 7)มีการดำเนินมาตรการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอโดยสอดคล้องกับประเด็นปัญหา 8)ชี้เป้าและแก้ไขจุดเสี่ยง (Black spot) หรือการจัดให้มีโซนถนนปลอดภัย (Safety Zone) และ 9)สรุปผลการดำเนินงาน พบว่า หลังการดำเนินงานภายใต้กรอบกิจกรรม 9 กิจกรรม (D-RTI PLUS) ในปี 2564 อำเภอมัญจาคีรีมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เกิดจากทีมสหวิชาชีพจากส่วนปกครอง ผู้นำชุมชน ตำรวจ เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ ร่วมกันจัดทำข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน และขยายผลไปสู่ทีมระดับท้องถิ่น/ตำบล (RTI-Team) หรือ ศปถ.อปท. (กิจกรรมที่ 6) ได้ดำเนินการต่อเนื่องตามบริบทของแต่ละพื้นที่ จึงเกิดการขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่ จึงส่งผลให้การดำเนินงานอุบัติเหตุการอำเภอมัญจาคีรี ได้รับรางวัล ผลการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ (District Road Traffic Injury : D-RTI  ระดับดีเยี่ยม (Advanced)  

คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30