การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แบบมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านขามป้อม หมู่ 4,12 ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรรณกร ตาบ้านดู่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • นพพร การถัก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • เกื้อกูล เพ็ชรสันทัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การป้องกันโรคโควิด-19, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

     การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาบริบทของปัญหาการป้องกันโรคโควิด-19ในชุมชนระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่นและ ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูลและผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 40 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 32 คน ตัวแทนผู้นำชุมชน 2 คน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 2 คน และ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 2 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรอบรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสนทนากลุ่ม โดยเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และหาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาชได้ค่าเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

     ผลการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แบบมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยหลัก 5 ก. ดังนี้ 1) กรรมการ 2.) กองทุน 3). กิจกรรม 4.) การคัดกรอง 5.) กักตัว 2) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 แบบมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า (1) ไม่พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระยะเวลาการศึกษา (2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันโรคโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (Mean 3.86 ± 0.59) และทุกด้านอยู่ในระดับมาก (3) กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันโรคโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (Mean 3.88 ± 0.67) และทุกด้านอยู่ในระดับมา (4) ความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันโรคโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (Mean 4.12 ± 0.51) และ (5) เปรียบเทียบ คะแนนเฉลี่ย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ขั้นพื้นฐานในการป้องกันโรคโควิด-19 สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.027) และพฤติกรรมด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานการป้องกันโรคโควิด-19สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30