ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ฤทธี เพ็ชรนิล

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยองค์ประกอบคุณภาพชีวิต และแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร การศึกษาในบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 186 คน  รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่พัฒนาจากแบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI) อธิบายสถิติเชิงพรรณนาด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและอธิบายสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าที (T-Test : Independent) และวิเคราะห์ความแปรปรวน (One–Way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51ปีขึ้นไป มีตำแหน่งงานเป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 34.9 นักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 32.3 มีอายุงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 69.4 กลุ่มตัวอย่าง มีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม  ปัจจัยด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมระดับปานกลาง ( =2.46)  ( =2.81) และ ( =2.35) ตามลำดับ ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและด้านจิตใจ มีระดับไม่ดี ( =2.20)และ ( =2.31) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) พบว่าด้านจิตใจ (ß=0.58,  t=2.680, p-value=.008) มีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ด้านสิ่งแวดล้อม (ß=0.30, t=2.50, p-value=.014) และด้านสัมพันธภาพทางสังคม (ß=0.24, t=2.13, p-value =0.34) มีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 การทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีผลต่อคุณภาพชีวิตต่างกัน ส่วนปัจจัยด้าน เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา อายุงาน และขนาดของ รพ.สต. ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน แต่ในด้านสถานะภาพสมรสและตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value=0.014,p-value=0.030) และจำนวนเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. ที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p-value=0.005)

คำสำคัญ : คุณภาพชีวิต, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, โรคโควิด-19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31