Home ThaiJO
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมของผู้เขียน
- ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานและข้อความของผู้อื่นมาเป็นเป็นผลงานหรืองานเขียนของตนเอง และหากมีการนำผลงานนั้นมาใช้ในบทความของตนเอง ต้องมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้อง
- ผลงานต้องไม่ตีพิมพ์ซ้ำซ้อน และไม่นำต้นฉบับที่ยังอยู่ในกระบวนการประเมินของวารสารไปตีพิมพ์กับวารสารอื่น
- ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเผยแพร่ตามที่วารสารได้กำหนดไว้
- ไม่ปลอมแปลงข้อมูลแล้วนำมาเขียนในบทความ
- หากมีแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัย ต้องระบุแหล่งทุนนั้นในต้นฉบับ
- หากพบความผิดพลาดในงานวิจัย ผู้เขียนต้องแจ้งบรรณาธิการทันทีหากพบความผิดพลาด
- สำหรับการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ต้องแนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลองด้วย
จริยธรรมของผู้ประเมิน
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความที่กำลังพิจารณา
- ผู้ประเมินควรรับพิจารณาเฉพาะบทความที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น
จริยธรรมของบรรณาธิการวารสาร
- ยึดมั่นหลักจริยธรรมสากลในการตีพิมพ์บทความในวารสาร และให้ความสำคัญกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างบรรณาธิการ กองจัดการวารสาร ผู้เขียน ผู้ประเมินบทความ
- สนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการของบทความตีพิมพ์ในวารสารโดยให้ความสำคัญต่อความใหม่ และความชัดเจนของบทความวิจัย บทความวิชาการ หรือผลงานอื่น ๆ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
- จัดให้มีกระบวนการพิจารณาประเมินบทความจากผู้ประเมินบทความที่มีความชำนาญต่อเนื้อหาของบทความ รวมถึงมีระบบการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน และมีระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ
- สนับสนุนการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง
- บรรณาธิการต้องแก้ไขทันทีและด้วยความชัดเจน หากพบความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว
- จัดเตรียมช่องทางให้ผู้เขียนสามารถอุทธรณ์ได้ หากผู้เขียนมีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ รวมถึงให้ข้อชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review)
- บรรณาธิการจัดเตรียมช่องทางการร้องเรียน และมีการตอบกลับคำร้องเรียนอย่างเร็วที่สุด