การศึกษาข้อมูลผู้เข้ารับบริการ ณ สมันตาคลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน

ผู้แต่ง

  • ศศินิภา ศักดิวงศ์ สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • อรวรรณ สมานชม สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สมรัชนี ศรีฟ้า สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิไรรัตน์ อนันตกลิ่น สาขาการแพทย์แผนจีน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การแพทย์แผนจีน, การฝังเข็ม, การครอบแก้ว

บทคัดย่อ

        ปัจจุบันการรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก โดยเฉพาะการฝังเข็มเพื่อรักษาและบรรเทาอาการปวด ซึ่งในประเทศไทยการฝังเข็มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการรักษาโรคที่ประชาชนให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากการฝังเข็มรักษาโรคมีความสะดวกปลอดภัย เกิดผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยและสามารถเห็นถึงประสิทธิภาพของการรักษาในระยะเวลาไม่นาน ด้วยเหตุนี้สถิติของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอาการปวดนับวันยิ่งมีจำนวนมากขึ้น

        งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้รับบริการที่สมันตาคลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน และเพื่อศึกษาสถิติทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหรืออาการของผู้รับบริการที่พบบ่อย  โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือผู้เข้ารับบริการ ณ สมันตาคลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ที่มารับบริการย้อนหลัง 1 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายถึงลักษณะทั่วไปที่เก็บข้อมูลได้

        จากการศึกษามีผู้เข้ารับบริการ ณ สมันตาคลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน ช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ถึง เดือนสิงหาคม 2564 จำนวน 92 ราย ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58 เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-30 ปี สถานะภาพโสด ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว น้ำหนัก 50-60 กิโลกรัม ส่วนสูง 150-160 เซนติเมตร
  2. ข้อมูลของโรคและหัตถการที่ใช้ของกลุ่มตัวอย่าง 33 รายเป็นกลุ่มอาการปวดต้นคอ 51 รายมีระยะเวลาที่เกิดโรค 1 ปีขึ้นไป 41 รายรักษาโดยการฝังเข็ม, กระตุ้นไฟฟ้าและครอบแก้ว
  3. จากกลุ่มตัวอย่าง 92 ราย กลุ่มอาการที่พบบ่อย คือ กลุ่มอาการปวดต้นคอ 33 ราย จุดฝังเข็มที่ใช้รักษา 5 จุด ได้แก่ จุดกดเจ็บ (Ouch point), Fengchi (GB20), Jianjing (GB21), Dazhui (DU14), Houxi (SI3) รองลงมาคือ กลุ่มอาการปวดเอว 20 ราย จุดฝังเข็มที่ใช้รักษา 5 จุด ได้แก่ จุดShenshu (BL23), Dachangshu (BL25), Guangyuanshu (BL26), Yaoshu (Du2), Houxi (SI3), และกลุ่มอาการปวดศีรษะ 9 ราย จุดฝังเข็มที่ใช้รักษา 5 จุด ได้แก่ จุดTouwei (ST8), Yangbai (GB14), Baihui (Du20), Taiyang (EX-HN5), Yintang (EX-HN3)

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2561). พจนานุกรมศัพท์การแพทย์แผนจีน (จีน – ไทย – อังกฤษ). https://ttdkl.dtam.moph.go.th/Dic_chai/frmc_dictionnary_ch.aspx

โกวิท คัมภีรภาพ. (2549). ทฤษฎีพื้นฐานการแพทย์แผนจีน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ : โรงพิมพ์การศาสนา.

ชานานันท์ ประดิษฐบาทุกา, เชาว์ โรจนแสง, สุภมาส อังศุโชติ, และสุดาพร สาวม่วง. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 9(1), 58-75.

ปุณยภัสร์ ศิริธีราฐิติกุล และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). หลักการป้องกันโรคตามแนวทางศาสตร์การแพทย์แผนจีน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 196-209.

รัตนา แกล้วกล้า, ชิดชนก เรือนก้อน, และบูรณินทร์ ชีวสกุลยง. (2561). ปัจจัยและความตั้งใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับรักษาฝังเข็มของผู้ป่วยโรงพยาบาลนครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(4), 49-66.

สมรัชนี ศรีฟ้า. (2564). การรักษาอาการปวดศีรษะด้วยการฝังเข็มตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน, วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 19(3), 737-745.

สุธาสินี สายวดี และปีติชา อะมริต. (2557). การรักษาอาการปวดหลังด้วยวิธีการฝังเข็ม กรณีศึกษาคลินิกฝังเข็มโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาและแผนกแพทย์แผนจีนโรงพยาบาลบ้านลาด. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (น.33-42). สำนักวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยนครราชสีมา.

Xuemin S., Lingling W., Minrong L., Hua W. & Yuanhao D.. (2007). Acupuncture and Moxibustion. Beijing: China Traditional Chinese Medicine Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

ศักดิวงศ์ ศ. ., สมานชม อ. ., ศรีฟ้า ส. ., & อนันตกลิ่น ว. (2023). การศึกษาข้อมูลผู้เข้ารับบริการ ณ สมันตาคลินิกการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีน . วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 2(1), 17–27. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/article/view/1406