ผลของการออกกำลังกายด้วยการวิ่งจ๊อกกิ้งและการเต้นแอโรบิคที่มีต่อดัชนีมวลกาย ความอดทนของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กิตติคุณ เกตุเงิน คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สาธิต สีเสนซุย คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การออกกำลังด้วยการวิ่งจ๊อกกิ้ง. การออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก. ดัชนีมวลกาย. ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด. ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยการวิ่งจ็อกกิ้งและการเต้นแอโรบิกที่มีต่อดัชนีมวลกาย ความอดทนของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด และความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนครราชสีมา ชั้นปีที่ 1 - 4 ภาคปกติ จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 20 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโปรแกรมการออกกำลังกาย การวิ่งจ๊อกกิ้ง โปรแกรมออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก และแบบทดสอบ 1) ดัชนีมวลกายเครื่องชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง   2) ยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที 3) ยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อนฝึกและหลังฝึกภายในกลุ่ม ใช้สถิติ t – test dependent และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มใช้สถิติ t – test  Independent ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีมวลกาย ความอดทนของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขา ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่1 และกลุ่มทดลองที่ 2 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ดัชนีมวลกาย ความอดทนของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขา หลังการทดลอง ของกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

จารุวรรณ ภู่สาลี และ สุนิดา ปรีชาวงษ์. (2557) ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เน้นการเต้นแอโรบิกแบบมวยไทยต่อความดันโลหิตและดัชนีมวลกายของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง.วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (ก.ย. - ธ.ค.)

วณิชชา ฉัตรกุล ณ อยุธยา และถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ (2559) ผลของการฝึกเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำร่วมกับฟิตบอลต่อสุขสมรรถนะในหญิงวัยทำงาน.วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน)

พวงแก้ว วิวัฒน์เจษฏาวุฒิและคณะ. (2563) ผลการใช้โปรแกรมการออกกําลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก จักรยาน และลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกายในกลุ่มบุคคลที่มีภาวะน้ำหนักเกิน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน)

ภณิดา หยั่งถึง . (2565) ผลของการออกกำลังกายแบบใช้น้ำหนักร่างกายกับแบบแอโรบิกที่มีต่อค่าดัชนีมวลกาย ค่าไขมันที่เกาะอยู่ตามอวัยวะภายในบริเวณช่องท้องและค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน ของผู้มีภาวะน้ำหนักเกิน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ปีที่ 14 ฉบับที่ 13 (กันยายน –ธันวาคม)

ภาพพิมพ์ พรหมวงศ ชาญชัย ขันติศิริ และสมบัติ อ่อนศิริ .(2560) ผลของการออกกําลังกายแบบแอโรบิกเพื่อลดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักเรียนหญิง อายุ 13 ปีโรงเรียนคําเตยอุปถัมภ์จังหวัดนครพนม.วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 1

มัฌติกาล ก้านชมภู (2562) ผลการฝึกวิ่งเหยาะและการเต้นแอโรบิกที่มีต่อค่าดัชนีมวลกายและความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต ของนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงเรียนราชินีบน ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มลฤดี แสนจันทร์ และ นิสากร วิบูลชัย. (2565) ประสบการณ์การจัดการตนเองของนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะอ้วน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 5 (พฤษภาคม)

วัลลภา ดิษสระ และ พิมพวรรณ เรืองพุทธ. (2563) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะที่ต่อภาวะสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 (เดือนมิถุนายน)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ .ศ. 2560 - 2564). [เว็บบล็อก]. สืบค้นจากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562) แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย. ของประชาชน อายุ19 - 59 ปี เว็บบล็อก]. สืบค้นจากhttps://www.dpe.go.th/manual-files-411291791796

สุพล เพ็ชรบัว และ นิติพันธ์ บุตรฉุย (2565) ได้ศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยการเดินที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมัน มวลไขมันของแขน ขา และลำตัวของร่างกายในผู้หญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน)

สุดใจ ยุคเจริญทรัพย์และ ธนวัฒน์ หะชะชู. (2562) ผลของการออกกำลังกายด้วยการเต้น. ซุมบ้าที่มีต่อสมรรถภาพทางกายในเด็กก่อนวัยเรียน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี "นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมไทยในศตวรรษที่ 21" Innovation for the Development of Thai Society in the Twenty-First Century ID เดือนเมษายน พ.ศ.2562 สืบค้นข้อมูลได้ที่ลิ้งค์ https://research.bkkthon.ac.th/abstac/ab_01102562170543.pdf

อังคณา แตงไทย (2563) ผลของการออกกา ลงักายท่าชุดมวยไทยด้วยการชกลม กระสอบทราย และเป้าล่อที่มีผลต่อการตอบสนองของระบบหัวใจและหายใจในเพศหญิง.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1

American College of Sport Medicine. (2000) ACSM’s guidelines for exercise testing and prscription.7th ed.Pennsyvania:Lippincott Williams and Wilkin, 2006.General principles of exercise prescription in ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription (p.150), American College of Sports Medinine,2000, Philadephia:Lippincott Williams &Wilins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

How to Cite

เกตุเงิน ก., & สีเสนซุย ส. . (2023). ผลของการออกกำลังกายด้วยการวิ่งจ๊อกกิ้งและการเต้นแอโรบิคที่มีต่อดัชนีมวลกาย ความอดทนของระบบหัวใจไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อขาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 2(2), 12–22. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/article/view/1425