ปัจจัยเสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสี่ยง, การพยายามฆ่าตัวตาย, รง 506 Dsบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตายของผู้พยายามฆ่าตัวตายในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ดำเนินการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบเฝ้าระวังการทำร้ายตนเอง ตามแบบฟอร์มรายงานการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (รง 506 DS) กรมสุขภาพจิต และเวชระเบียนผู้ป่วยของผู้พยายามฆ่าตัวตายของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง 1 ตุลาคม 2564–30 กันยายน 2565 จำนวน 42 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากร และวิเคราะห์หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพยายามฆ่าตัวตายด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายเกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ ร้อยละ 64.28 ไม่มีประวัติการทำร้ายตนเอง ร้อยละ 57.14 และไม่ตั้งใจทำให้เสียชีวิต ร้อยละ 57.14 ตามลำดับ วิธีการทำร้ายตัวเองที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การกินยาเกินขนาด ร้อยละ 61.90 ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการพยายามฆ่าตัวตาย ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุ สถานภาพ โรคทางจิตเวช ปัญหาความสัมพันธ์ และปัญหาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง/จิตเภท มีความสัมพันธ์ต่อการพยายามฆ่าตัวตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือความรู้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญสาขาสุขภาพจิตชุมชน. ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.
ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์. (2551). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องในการทำร้ายตนเอง เขตตรวจราชการที่ 3. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 :ร่วมมือ ร่วมพลัง มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดีในปี 2563. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 92.
ธัญชนก บุญรัตน์. (2559). พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกจิตเวชโรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารวิชาการแพทย์เขต11, 30(1), 101-109.
นิอร คำเนตร. (2551). ความชุกของโรคทางจิตเวชในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายซึ่งรับไว้รักษาในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. พุทธชินราชเวชสาร, 25(3), 829-830.
โรงพยาบาลท่าศาลา. (2566). สรุปผลการดำเนินงานสุขภาพจิตและยาเสพติด: รายงานตัวชี้วัดสถานการณ์สุขภาพจิต. นครศรีธรรมราช.
วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. (2557). อัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตายโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(3), 90-103.
ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ. (2561). รายงานสถิติการฆ่าตัวตาย. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://suicide.dmh.go.th
ศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย. (20 กุมภาพันธ์ 2566). อัตราตายสำเร็จ จำแนกตามรายจังหวัด ระหว่าง ปีพ.ศ. 2563-2565.
https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/download/view.asp?id=29
อนุพงศ์ คำมา. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จ : กรณีศึกษาจังหวัดสุโขทัย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(1), 3-16.
Cavanagh, J. T., Carson, A. J., Sharpe, M., & Lawrie, S. M. (2003). Psychological autopsy studies of suicide: a systematic review. Psychological medicine, 33(3), 395-405.
De Leo D. (2002). Why are we not getting any closer to preventing suicide?. The British journal of psychiatry : the journal of mental science, 181, 372–374.
Kim S. H., Kim H. J., Oh S. H., Cha K. (2020). Analysis of attempted suicide episodes presenting to the emergency department: Comparison of young, middle aged and older people. International Journal of Mental Health Systems, 14(1), 14-46
Olfson, M., Blanco, C., Wall, M., Liu, S. M., Saha, T. D., Pickering, R. P., & Grant, B. F. (2017). National Trends in Suicide Attempts Among Adults in the United States. JAMA psychiatry, 74(11), 1095–1103.
Shamsaei, F., Yaghmaei, S., & Haghighi, M. (2020). Exploring the lived experiences of the suicide attempt survivors: a phenomenological approach. International journal of qualitative studies on health and well-being, 15(1), 1745478. https://doi.org/10.1080/17482631.2020.1745478
World Health Organization. (28 August 2023). Suicide. Retrieved on 20 October 2023. Accessed from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/suicide.