ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก ระหว่างการคลอดที่มีภาวะโลหิตจาง โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี รุจิภักดิ์ โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก, การคลอดที่มีภาวะโลหิตจาง, โรคโลหิตจาง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกจากการคลอดที่มีภาวะโลหิตจาง กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางที่รับบริการคลอด 67 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติก

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุน้อยกว่า 30 ปี ร้อยละ 56.71 มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 64.18   มีโรคประจำตัว ร้อยละ 10.45  ฝากครรภ์ตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 79.10 คลอดด้วยวิธีผ่าตัด ร้อยละ 65.67 น้ำหนักทารกแรกเกิดมากกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 82.09 ภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกระหว่างการคลอดที่พบ ได้แก่ มีปริมาณน้ำคร่ำน้อย ร้อยละ 1.50
มีการติดเชื้อ ร้อยละ 13.43  มีการตกเลือด ร้อยละ 2.98  คลอดก่อนกำหนด  ร้อยละ 11.94 ทารกน้ำหนักน้อย ร้อยละ  17.91 ทารกพิการ ร้อยละ 1.50 และทารกตาย ร้อยละ 2.91  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก ระหว่างการคลอดที่มีภาวะโลหิตจาง ได้แก่ อายุของมารดา (OR=0.76, 95%CI 0.38-1.20) อายุครรภ์ (OR=0.96, 95%CI 0.27-2.14)  และจำนวนครั้งการฝากครรภ์ (OR=0.48, 95%CI 0.33-0.86) 

References

กรมอนามัย (2564). รายละเอียดโครงการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจาง 2564.ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก.

https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=4346.

ผาสุข กัลย์จารึก. (2558). ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลอู่ทองอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 22-32.

พิพัฒ เคลือบวัง. (2566). การศึกษาภาวะโลหิตจางในระยะแรกเกิดกับการเจ็บป่วยของทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักน้อยมากในโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 32(2), 216-227.

มรกต สุวรรณวนิช (2559). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 35(3), 150-157.

โรงพยาบาลสิชล. (2566). ทะเบียนงานห้องคลอด ปี 2565. นครศรีธรรมราช.

วรรณชนก ลิ้มจำรูญ (2 กุมภาพันธ์ 2564). การวิเคราะห์สถานการณ์การตายมารดาไทยประจำปีงบประมาณ 2563 (เดือน ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563). ระบบเฝ้าระวังการตายมารดา สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. https://hp.anamai.moph.go.th/th/km-research-person/download/?did=204804&id=73629&reload=.

วิชัย ศรีอุทารวงศ์. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหัวหิน. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(2), 126-139.

สุวิทย์ อุดมกิติ และสายชล พฤกษ์ขจร (2552). ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการ รพศ/รพท. เขต 4, 11(1), 45-52.

เอื้อมพร ราชภูติ. (2554). การวิเคราะห์สถานการณ์การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลระนอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Chawanpaiboon, S. & Sutantawibul, A. (2009). Preterm birth at Siriraj Hospital: a seven-year review (2002-2008). Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 17(4), 204-11.

Juul, S. E., Derman, R. J., & Auerbach, M. (2019). Perinatal iron deficiency: Implications for mothers and infants. Neonatology, 115(3), 269-274.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Smith, C., Teng, F., Branch, E., Chu, S. & Joseph, KS. (2019). Mater¬nal and perinatal morbidity and mortality associated with anemia in pregnancy. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 134(6), 1234- 44.

Tongsong, T,. & Wanapirak, C. (2021). Obstetrics (6th ed.). Chiang Mai: Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University.

World Health Organization (2021). THE GLOBAL HEALTH OBSERVATORY Explore a world of health data. Anaemia in women and children.

https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/anaemia_in_women_and_children.

World Health Organization. (2014). Global nutrition targets 2025: low birth weight policy brief. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/149020/WHO_NMH_NHD_14.5_eng.pdf?ua=1.

World Health Organization (WHO). (2020). World Health Statistics 2020: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals.

https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/332070/9789240005105-eng.pdf?sequence=1.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-15

How to Cite

รุจิภักดิ์ ด. . (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารก ระหว่างการคลอดที่มีภาวะโลหิตจาง โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 3(1), 1–11. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/article/view/2208