การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการผู้ป่วยนอกแต่ละแผนก โรงพยาบาลอู่ทองสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ผู้รับบริการผู้ป่วยนอก, ความพึงพอใจ, ความพึงพอใจทางการพยาบาลบทคัดย่อ
การให้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีแผนกที่เปิดให้บริการทุกวันในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 5 แผนก ได้แก่ แผนกทั่วไป แผนกอายุรกรรม แผนกศัลยกรรม แผนกสูตินรีเวช แผนกกระดูกและข้อ โดยดูแลผู้ป่วยในเขตพื้นที่บริการของอำเภออู่ทองและเขตพื้นที่ติดต่อ มีผู้รับบริการเฉลี่ย 401 คนต่อวัน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีระดับคะแนนความพึงพอใจในการให้บริการลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในแต่ละแผนกทำการวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อย เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการ ทำการวิจัยโดยใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) กับผู้ที่มารับบริการระหว่างเดือนมกราคมถึง กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 400 คน ใช้สถิติ one-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐานและใช้ Fisher's Least-Significant Different (LSD) ในการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละของความพึงพอใจของผู้รับบริการในทุกแผนกมีภาพรวมในทุกหัวข้ออยู่ในระดับพึงพอใจค่อนข้างมาก คือ ร้อยละ 70-79 ถึง ระดับพึงพอใจมากที่สุด คือ ร้อยละ 90-100 (Min=ร้อยละ 71.25 และ Max=ร้อยละ 93.17) แผนกกระดูกและข้อเป็นเพียงแผนกเดียวที่มีระดับคะแนนความพึงพอใจมากที่สุดในทุกด้านแตกต่างจากแผนกอื่น ๆ จากการวิเคราะห์ระบบการให้บริการ พบว่า แผนกกระดูกและข้อ มีพื้นที่ให้บริการแยกออกจากพื้นที่ปกติ มีจำนวนบุคลากรประจำแผนกเพียงพอต่อจำนวนผู้รับบริการ มีระบบนัดและลงทะเบียนผู้ป่วยในเป็นของตนเอง รวมถึงมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนทำให้ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการสูงขึ้น งานวิจัยนี้จึงแสดงให้เห็นว่าในแผนกผู้ป่วยนอกควรมีการพัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนการลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ ระบบนัด และลงทะเบียนผู้ป่วยใน (IPD) ให้มีจุดบริการที่แผนกตนเองหรือมีจุดลงทะเบียนผู้ป่วยในแยกส่วนออกมา เพื่อลดขั้นตอนทับซ้อนและลดความแออัดในช่วงเวลาเร่งด่วน
References
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). https://dmsic.moph.go.th/index/download/699.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2547). การตลาดบริหาร. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฏฐกานต์ ทองรัตน์, เกสราวรรณ ประดับพจน์, สุมลรัตน์ ขนอม. (2566). ความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพและการศึกษา, 3(1), 69-83.
นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์, สมจิต หนุเจริญกุล. (2554). การพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล. 17(2), 264-277.
ปวีณา ศรีลาโพธ์. (2558, กุมภาพันธ์ 21). ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หนองสามสีอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2015, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ประภัสสร วัฒนา (2560). แนวความคิดมนุษยนิยมของมาสโลว์ (Maslow) และแนวความคิดอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean Paul Sartre) ที่ปรากฎผ่านนวนิยายเรื่อง "วันหนึ่งในชีวิตของอีวาน เดนิโซวิช". มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะศิลปศาสตร์.
พัชรี อิ่มอาบ. (2553). คุณภาพการให้บริการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลหัวเฉียว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. DRUIR. https://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/550.
พิณทิพ ทัศนา. (2556). ความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). BUUIR. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/16780.
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. (2562, 18 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ (96ง), 30-36.
วิรัช ประวันเตา, จามจุรี เพียรทำ. (2565). ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกที่ใช้บริการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 307-318.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. 13, 332-334.
สุวิมล คำย่อย. (2555). ความพึงพอใจของผู้มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหยวก อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Abid Hussain, et al. (2019). Measuring OPD Patient Satisfaction with Different Service Delivery Aspects at Public Hospitals in Pakistan. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(13), 2340. https://doi.org/10.3390/ijerph16132340.
McDonnel, C., & Nash, J. G. (1990). Compendium of instruments measuring patient satisfaction with nursing care. Quality Review Bulletin, 5, 182–188.
McDaniel, M. A. (2003). Measuring the caring process in nursing: The Caring Behavior Checklist and the Client Perception of Caring Scale. In O. L. Strickland & C. Dilorio (Eds.). Measurement of nursing outcome (2nd ed., pp. 233-240). New York: Sprinker Publishing.
O'Connor, S.J., Shewchuk, R.M., Bowers, M.R. (1991). A model of service quality perceptions and health care consumer behavior. Journal of hospital marketing, 6(1), 69–92.
Ryan, K. & Rahman, A. (2012). Examining factors influencing patient satisfaction with nurse practitioners in rural urgent care centers. Journal of the American Academy of Nurse Practitioners, 24, 77–81. https://doi.org/10.1111/j.1745-7599.2011.00688.x.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.
Taylor, D.G., Aday, L.A., Andersen R. (1975). A social indicator of access to medical care. Journal of Health and Social Behavior, 16(1), 39–49.