ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • โสพิศ ศรีพิลาภ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

โรคข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นแบบเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของโรงพยาบาลสิชล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 52 ราย ที่รับบริการระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 – 31 ตุลาคม 2566 รวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi Square และ Fisher’s exact

          ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.54  อายุมากกว่า 65 ปี ร้อยละ 44.23 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 42.31 มีน้ำหนักตัวระหว่าง 66-70 กิโลกรัม ร้อยละ 38.46 มีประวัติการปวดข้อน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 57.69 ได้รับรักษาด้วยยา ร้อยละ 96.15 และเคยได้รับการฉีดยาเข้าข้อเข่า ร้อยละ 40.38 เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลสิชล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ น้ำหนักตัว และระยะเวลาการปวดของข้อ มีความสัมพันธ์ต่อระดับความปวด และการเดินของผู้ป่วยในระยะ 2 และ 6 เดือนหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2562). เอกสารประกอบการประชุม: “การพัฒนาบริการ การดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี.

กรมกิจการสถิติผู้สูงอายุ. (2560). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560. สืบค้น 1 กันยายน, 2566. จาก http://www.dop.go.th/ download/ knowledge/th1533055363-125_1.pdf.

จิตรรดา พงศธราธิก และแก้วใจ ทัดจันทร์. (2564). ปัจจัยทำนายการฟื้นฟูสภาพและประสบการณ์การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(1), 54-68.

ธีรพงศ์ โศภิษฐิกุล. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนคราชสีมา. ชัยภูมิวารสาร. 42(1), 88-98.

เนสท์ เนอร์สซิ่งโฮม. (2565). โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. สืบค้น 20 กันยายน, 2566. จาก https://www.nestnursing.com/article/read/20220510-26.

ภีรฉัตร โตศิริพัฒนา. (2558). ปวดเข่า. สืบค้น 20 มกราคม, 2567. จาก http://www.somdej.or.th/index.php/2016-01-18-04-21-18.

โรงพยาบาลสิชล. (2566). เวชระเบียนการบริการผู้ป่วยออโธปิดิกส์ ปี 2565. นครศรีธรรมราช.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.2558. สืบค้น 2 ธันวาคม, 2566 http://kpo.moph.go.th.

สุทธิวรรณ เชวงเกียรติกุล, สุภาพ อารีเอื้อ, พิชญ์ประอร ยังเจริญ, และวิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. (2562). ความคาดหวังในผลลัพธ์หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมของผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(2), 361-373.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, และภัทฑิรชา เฟื่องทอง. (2562). การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(2), 197-210.

อุไรวรรณ พลซา. (2559). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโรงพยาบาลอุดรธานี วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 24(1). 19-26.

Blagojevic, M., Jinks, C., Jeffery, A., and Jordan, K. P. (2010). Risk factors for onset of osteoarthritis of the knee in older adults: a systematic review and meta-analysis. Osteoarthritis Research Society International., 18(1), 24-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23

How to Cite

ศรีพิลาภ โ. . (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสำเร็จของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 3(1), 47–58. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/article/view/2323