ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย หลังการผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยการส่องกล้องในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง, นิ่วในถุงน้ำดี, ห้องพักฟื้นบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และหาความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในห้องพักฟื้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีที่เข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยวิธีการส่องกล้อง
ในห้องพักฟื้น จำนวน 75 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไควสแคว์และสถิติฟิชเชอร์
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.70 มีอายุระหว่าง 61-70 ปี ร้อยละ 28.00 American Society of Anesthesiologist (ASA) Class III ร้อยละ 40.00 ใช้เวลาระงับความรู้สึก น้อยกว่า 150 นาที ร้อยละ 82.70 ปริมาณสารน้ำที่ได้ทางหลอดเลือดน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ร้อยละ 66.70 และมีระยะเวลาในห้องผ่าตัด น้อยกว่า 100 นาที ร้อยละ 60.00 ภาวะแทรกซ้อนที่พบหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 26.70 ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ร้อยละ 16.00 เกิดภาวะหนาวสั่น ร้อยละ 8.00 มีภาวะการตื่นช้ากว่าปกติ ร้อยละ 2.67 และภาวะพร่องออกซิเจน ร้อยละ 1.30 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับยาระงับความรู้สึก ได้แก่ ระดับ ASA class ระยะเวลาระงับความรู้สึก ปริมาณสารน้ำที่ได้ทางหลอดเลือดดำ และระยะเวลาในห้องผ่าตัด เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดถุงน้ำดีในห้องพักฟื้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value< 0.05
References
ดรุณี สมบูรณ์กิจ และคณะ(2561) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(3), 24-34.
ประไพ ผลอิน และคณะ (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนจากยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายของผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 3(1), 32-47.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (2558). การจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์.
ภิญญลักษณ์ เรวัตพัฒนกิตติ์. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีและมีโรคร่วม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(1). 131-138.
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย (2557). แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม. https://www.rcst.or.th/web-upload/filecenter/CPG/Gallstone%20.html.
โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (2566). เวชระเบียนผู้ป่วยรับบริการปี 2565. นครศรีธรรมราช.
ศรัญญา จุฬารี (2560). อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อน การจัดการทางการพยาบาลและผลลัพธ์ทางการพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุภัทรา หลวงเมือง, (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของวิสัญญีพยาบาลในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อนงค์ สายสุด (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลังในมารดาที่มาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายวารสาร, 10(1), 71-80.
อรรถพร ปฏิวงศ์ไพศาล (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องเป็นการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(3), 176-178.
Hfocus, (2562). ย้ำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ คือหัวใจของการลดปัญหาโรค NCDs. https://www.hfocus.org/content/2019/02/16826.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Odom-Forren, J., Jalota, L., Moser, D. K., Lennie, T. A., Hall, L. A., Holtman, J., Hooper, V., & Apfel, C. C. (2013). Incidence and predictors of post discharge nausea and vomiting in a 7-day population. Journal of clinical anesthesia, 25(7), 551–559.
Pierr, S. & Whelan, R. (2013). Nausea and vomiting after surgery. Continuing Education in Anaesthesia, Critical Care & Pain, 13(1), 28–32.