การวิเคราะห์สรรพคุณตัวยาจากตำรับยาสตรีด้วยวิธีการจัดกลุ่ม : กรณีศึกษา หมอกระจ่าง ยี่มี

ผู้แต่ง

  • วัฒนา ชยธวัช คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ชลดา จัดประกอบ คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • บุณยพร ยี่มี บุณยวรีคลินิกการแพทย์แผนไทย กรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจำแนกกลุ่ม, ยาสตรี, หมอกระจ่าง ยี่มี

บทคัดย่อ

            การวิจัยเอกสารเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมตำรับยาของหมอพื้นบ้านของหมอกระจ่าง ยี่มี ที่ใช้ในการรักษาโรคโลหิตสตรี และวิเคราะห์ย้อนกลับหาสรรพคุณตัวยาจากสรรพคุณของตำรับยาที่ตัวยานั้นประกอบอยู่ด้วยการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม

            ผลการศึกษาพบว่า

            หมอกระจ่าง ยี่มี เป็นหมอพื้นบ้านชาวนครศรีธรรมราชที่ได้รับการยอมรับด้านการรักษาโรคโลหิตสตรีระหว่างปี พ.ศ. 2500 ได้ทำการเขียนตำรับยาที่ใช้ในสมุดตีเส้นจำนวน 200 หน้า เป็นตำรับยาจำนวน 31 ตำรับ ประกอบด้วยตัวยา 169 ตัวยา สำหรับรักษาอาการป่วยของสตรีตั้งแต่การมีประจำเดือน การคลอด และหลังคลอด เมื่อได้นำมาทำการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มตัวยาตามสรรพคุณของตำรับยาที่ตัวยานั้น ๆ ประกอบอยู่ สามารถจำแนกได้เป็น 8 กลุ่มตัวยา ที่มีสรรพคุณ 15 กลุ่มสรรพคุณ ซึ่งทำให้กำหนดได้ว่าตัวยาใดอยู่ในกลุ่มตัวยาที่ครอบคลุมสรรพคุณของตำรับที่ตัวยานั้นประกอบอยู่ สามารถนำไปใช้ในการกำหนดโครงสร้างตำรับยาตามโครงสร้างยาไทย คือ ตัวยาตรง ตัวยาช่วย ตัวยาประกอบ ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยาต่อไป

References

ลาลูแบร์, ซิมมอน เดอ. (2457). จดหมายเหตุลาลูแบร์ พงศาวดารสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. พระนคร: ปรีดาลัย.

ตำราพระโอสถพระนารายณ์. (2460). สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนี โปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์) ปีมเสง พ.ศ. 2460. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

กองคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและพื้นบ้านไทย (ผู้รวบรวม). (2559). ชุดตำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยฉบับอนุรักษ์ ตำราสรรพคุณยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2541). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย. หน้า 184-185.

Qiu J. (2007). A CULTURE IN THE BALANCE. Nature. 448: 126-128. Retrieved From https://doi.org/10.1038/448126a (2022, 25 May).

สำนักวิชาการ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2553). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 . กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจกรรมโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

PenState Eberly College of Science. (2022). STAT 505 Applied Multivariate Statistical Analysis: Lesson 14: Cluster Analysis. [Online]. Retrieved From https://online.stat.psu.edu/stat505/lesson/14 (2022, 25 May).

กัญทร ยินเจริญ, สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, ศรินทร์รัตน์ จิตจำ, และ สถิตาภรณ์ ชูแก้ว. (2563). ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคโลหิตระดูสตรี: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 27(1): 82-95.

เกศริน มณีนูน, บดินทร์ ชาตะเวที, จอมขวัญ ดาคง, นัฐพล เคียนขัน, และ นงลักษณ์ กุลวรรัตต์. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรรักษาโรคโลหิตระดูสตรีของหมอพื้นบ้านในจังหวัดกระบี่และสงขลา. บทความวิจัย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 22(3): 243-258.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

ชยธวัช ว. ., จัดประกอบ ช. ., & ยี่มี บ. . (2022). การวิเคราะห์สรรพคุณตัวยาจากตำรับยาสตรีด้วยวิธีการจัดกลุ่ม : กรณีศึกษา หมอกระจ่าง ยี่มี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1(1), 40–53. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/article/view/332