ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นกับบทบาทอาจารย์

ผู้แต่ง

  • ศญาดา ด่านไทยวัฒนา คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่น, นักศึกษา, บทบาทอาจารย์

บทคัดย่อ

        ภาวะซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ของบุคคลที่แสดงออกในด้านความคิด แรงจูงใจอารมณ์และพฤติกรรม ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยและสามารถเกิดขึ้นกับบุคคล ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกาย มีสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลรอบข้างน้อยลง เผชิญปัญหาโดยการปลีกวิเวกอยู่โดยลำพังหรือพึ่งพาการใช้สารเสพติด ซึ่งหากภาวะซึมเศร้ามีความเข้มข้นรุนแรงขึ้นก็อาจจะก่อให้เกิดการทำร้ายร่างกายตัวเอง หรือการฆ่าตัวตายในที่สุด โดยกลุ่มวัยรุ่นที่ต้องการศึกษาคือวัยรุ่นตอนกลางช่วงอายุระหว่าง15-24ปี ซึ่งวัยรุ่นในกลุ่มนี้หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่หรือคัดกรองได้ทันท่วงที อาจก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากต่อบุคคลากรที่สำคัญในประเทศชาติ เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในอนาคตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้านั้น จำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทั้งในทางการแพทย์และหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาการแสดงรูปแบบรักษา รวมถึงบทบาทของอาจารย์ในฐานะที่เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดกับวัยรุ่นมากที่สุดรองจากบุคคลในครอบครัว

        ทั้งนี้เพื่อให้วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า หรืออยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแลป้องกันรักษาพยาบาลอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ โดยเป้าประสงค์หลักของการดูแลป้องกันดูแลรักษาพยาบาลคือการคัดกรองและทำให้วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าให้ได้รับการตรวจคัดกรองวินิจฉัยดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกวิธี และสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยที่ผู้เขียนใช้วิธีศึกษาด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น สถิติการทำร้ายร่างกายและการฆ่าตัวตาย พบว่า หากได้มีการการประเมินภาวะเสี่ยงที่จะมีภาวะซึมเศร้าและคัดกรองกลุ่มวัยรุ่นที่มีแนวโน้มที่จะทำร้ายร่างกายตัวเอง และฆ่าตัวตายออกมาได้จะช่วยลดสถิติการทำร้ายร่างกายตัวเอง และฆ่าตัวตายได้มากและในฐานะที่ผู้เขียนเป็นบุคคลากรในสถาบันการศึกษาที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัยรุ่นและสามารถช่วยในการคัดกรองได้ในระดับหนึ่งก่อนส่งต่อให้หน่วยงานหรือสถานพยาบาลต่อไป

References

เกวลี วัชราทักษิณ, สายฝน เอกวรางกูร, และวิสุทธิศักดิ์ หวานพร้อม. (2565). การรับรู้สมรรถนะและความต้องการแนวทางร่วมมือดูแลสุขภาพจิตนักเรียนของผู้เกี่ยวข้อง โรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 36(2), 62-76.

ดาราวรรณ ต๊ะปนตา. (2556). ภาวะซึมเศร้า: การบำบัดและการให้การปรึกษาโดยการปรับความคิดแลพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). วนิดาการพิมพ์.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2559). การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น : จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1), 1-12.

ประภัสสร จันดี, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(1), 252-265.

ปาริชาติ เมืองขวา, กมลนัทธ์ คล่องดี, และสุรชัย เฉนียง. (2563). ภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาไทย : บทบาทที่สำคัญสำหรับสถาบันการศึกษา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 21(41), 104-116.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (9 กันยายน 2565). ซึมเศร้าในวัยเรียน สัญญาณเตือนก่อนสูญเสีย. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/?p=309642.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2565). สุขภาพคนไทย 2565 : ครอบครัวไทยในวิกฤตโควิด-19 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สถาบันวิจัยประชากรสังคม. (2563). สุขภาพคนไทย 2563 : สองทศวรรษปฏิรูปการศึกษาไทยความล้มเหลวและความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สถาบันวิจัยประชากรสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2561). คู่มือปฏิบัติการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2565). อาการโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น. สืบค้นจาก https://camri.go.th/th/knowledge/article/ar2/ar2-52.

Kapikiran, S., &Acun-Kapikiran, N. (2016). Optimism and Psychological Resilience in Relation to Depressive Symptoms in University Students: Examining the Mediating Role of Self-Esteem. Educational Sciences: Theory and Practice, 16(6), 2087-2110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-14

How to Cite

ด่านไทยวัฒนา ศ. . (2023). ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นกับบทบาทอาจารย์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1(2), 54–64. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jhsnmc/article/view/604