ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน หมู่บ้านซับตารี จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, ความรู้, ทัศนคติ, การใช้สมุนไพร, บ้านซับตารีบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานะภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะทางไปใช้สถานีบริการสุขภาพ และ โรคประจำตัว กับความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน ประชากรคือ ประชาชนในหมู่บ้านซับตารี หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ที่มีอายุ 18-65 ปี จำนวน 758 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 262 คน เก็บข้อมูลสนามในช่วงเดือน ธันวาคม 2562 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยสุ่มเลือกครัวเรือนและสุ่มเลือกตัวแทนในครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผ่านแบบประเมินความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นอาจารย์ด้านการแพทย์แผนไทย 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ Independent t test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอย ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สถิติ jamovi 2.3.7
ผลการศึกษาพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงร้อยละ 63 อายุเฉลี่ย 46.26 ปี อายุระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 43.9 สมรส ร้อยละ 68.3 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 58.7 ทำอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 51.9 รายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 46.2 ระยะทางห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตาถ่านในรัศมี 3 กิโลเมตร ร้อยละ 90.0 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 86.6 และมีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 62.60
การจำแนกกลุ่มย่อยตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ การมีโรคประจำตัว มีค่าคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันทั้งความรู้ และพฤติกรรมการใช้สมุนไพร ส่วนกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และ สถานภาพสมรส ทั้งค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรมีอย่างน้อยหนึ่งกลุ่มย่อยหนึ่งคู่แตกต่างกันในแต่ละปัจจัย ส่วนระดับรายได้ไม่มีผลต่อคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สมุนไพร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันปานกลางในทิศทางบวก
References
ชนิดา มัททวางกูร, ขวัญเรือน ก๋าวิตู, สุธิดา ดีหนู, และสิริณัฐ สินวรรณกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 99-109.
ทัศน์กร อินทจักร์. (2564). รายงานการวิจัย: พฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยาลัยแม่ฮ่องสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน.
นันทะ สวัสดิ์พงษ์. (2557). หมู่บ้านซับตารี หมู่บ้านชายแดนไทย – กัมพูชา. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). https://projects.rdpb.go.th/studyCenter/5155820207603712.
ปรเมศร์ อมาตยกุล, เทวินทร์ โจมทา. (2559). เอกสารวิชาการ อุตุนิยมวิทยาน่ารู้เพื่อการเกษตรจังหวัดจันทบุรี. ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา.
ปัทมา ศิริวรรณ, (2559). ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และการใช้ยาสมุนไพรของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในโรงพยาบาลแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (การค้นคว้าอิสระคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำหมู่บ้านเตาถ่าน ตำบลทุ่งขนาน. (2562). ทะเบียนจำนวนผู้มารับบริการ จำนวนและราคาของยาสมุนไพร มกราคม – กันยายน 2562 บ้านเตาถ่าน หมูที่ 5 ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน. (2542). สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2562). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด. http://www.chanthaburi.go.th/ content/general.
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2558). ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาสอยดาว จ.จันทบุรี. http://portal.dnp.go.th/Content/WildlifeConserve?conten tId=24999.
สำเนียง ประถมวงษ์. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของประชาชนในเขตอำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี (งานนิพนธ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุจิตรา แสงพุก. (2559). กายภาพและการจับจ้องของเพศสภาพ (ศิลปนิพนธ์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร).
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขนาน. (9 ตุลาคม 2562). ข้อมูลทั่วไป:สภาพทั่วไป. https://www.govesite.com/thungkanan/content.php?mcid=20140623193730OzrD6EF.
Jamovi. (2022). jamovi - open statistical software for the desktop and cloud. https://www.jamovi.org/
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.). Harper and Row.