แนวทางการประยุกต์ใช้ TMT สำหรับการแทนยาระดับชื่อสามัญ ในระบบ CPOE ของโรงพยาบาลรามาธิบด

ผู้แต่ง

  • สรายุทธ ทวิธางกูร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรลักษณ์ พัฒนาประทีป คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

Generic substitution หรือการแทนยาระดับชื่อสามัญ เป็นการเปลี่ยนยาที่มีชื่อสามัญ รูปแบบ และความแรงเดียวกัน แต่ชื่อการค้าและบริษัทต่างกัน ทั้งนี้ฝ่ายเภสัชกรรมมีการเปลี่ยนบริษัทที่ซื้อยาอยู่เป็นระยะเนื่องจากยาขาดหรือยาอยู่ในช่วงการเปลี่ยนคลังสินค้า จากปัญหาที่เกิดทำให้แพทย์ต้องสั่งหยุดคำสั่งยาเดิมและสั่งยาใหม่ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาล่าช้า การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์กระบวนการสั่งจ่ายยาผู้ป่วยในและประยุกต์ใช้ Thai Medicinal Terminology (TMT) Trade Product Unit (TPU) และ Generic Product Unit (GPU) ของยาในโรงพยาบาล
รามาธิบดีจำนวน 91 คู่ ผ่านระบบ Computerized Physician
Ordering Entry (CPOE). ข้อมูลการสั่งยา 91 รายการในหอผู้ป่วยในตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 36,460 ใบ ถูกนำมาวิเคราะห์และพบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่แพทย์สั่งยาถึงห้องยาจ่ายยาขึ้นหอผู้ป่วย คือ 40.60 นาที ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 49.87 นาที และค่ามัธยฐาน 20.00 นาที ซึ่งคาดว่าถ้าระบบใหม่นี้สามารถใช้ได้จะลดระยะเวลารอยานี้ ลงได้อย่างน้อย 40 นาที

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-14

How to Cite

ทวิธางกูร ส. ., & พัฒนาประทีป อ. . (2022). แนวทางการประยุกต์ใช้ TMT สำหรับการแทนยาระดับชื่อสามัญ ในระบบ CPOE ของโรงพยาบาลรามาธิบด. วารสารสมาคมเวชสารสนเทศไทย, 6(1), 8–12. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/jtmi/article/view/105