ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในโรงพยาบาลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการควบคุมโรค, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม การส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านธิ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน ถูกคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเป็นเวลา 9 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินพฤติกรรมการควบคุมโรค และ 3) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน 9 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมการควบคุมโรคสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนช่วยให้ผู้ป่วยมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมโรคดีขึ้น ดังนั้น ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ส่งเสริมพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังต่อไป
References
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (2565). ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กลุ่มพัฒนานโยบายระดับประชากร กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2566 สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1308820220905025852.pdf.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์. (2562). รายงานผลการดำเนินงานการตามรอยทางคลินิกโรคมุ่งเน้น โรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน. โรงพยาบาลบ้านธิ.
ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ และลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. (2560). ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 23(2), 94-106.
ปฐมธิดา บัวสม, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). วิจัยผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 549-567.
ปริยากร วังศรี, วีนัส ลีหฬกุล, และทิพา ต่อสกุลแก้ว. (2559). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการควบคุมภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(2), 98-110.
พิมพ์สุภัค ปานเพียรกุลภัค. (2559). ผลของโปรแกรมการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในคลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(3), 205-215.
เพ็ญพร ทวีบุตร, พัชราพร เกิดมงคล, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2560). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 129-145.
วัชราพร สนิทผล, นันธิดา จาระธรรม, และจันทร์เพ็ญ ประโยงค์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่แผนกไตเทียม โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 13(2), 48-63.
วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา. (2563). การคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*power สำหรับงานวิจัยที่มีการใช้สัตว์. เข้าถึงเมื่อ 18 เมษายน 2561 สืบค้นจาก: https://rid.psu.ac.th/animal/th/assets/document/GPower5-7.pdf.
ศิริรัตน์ ธะประวัติ, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, และศิริวิทย์ หลิ่มโตประเสริฐ. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(2), 290-303.
สมพร สันติประสิทธิ์กุล และปิยธิดา จุลละปีย. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 100-109.
เอื้อมเดือน ชาญชัยศรี. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W. H. Freeman
Bikbov, B., Abdoli, A., Abebe, M., & Adebayo, O. (2020). Global, regional, and national burden of chronic kidney disease 1990-2017: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017. Lancet, 395(10225), 709-733. https://doi: 10.1016/S0140-6736(20)30045-3
Cockwell, P., & Fisher, L. A. (2020). The global burden of chronic kidney disease. Lancet, 395(10225), 662-664. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(19)32977-0
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Hamler, T. C., Miller, V. J., & Petrakovitz, S. (2018). Chronic kidney disease and older African American adults: How embodiment influences self-management. Geriatrics, 3(3), 1-14. https://doi.org/10.3390/geriatrics3030052
Health Data Center. (2020). ร้อยละของผู้ป่วย DM และ/หรือ HT ที่เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ปีงบประมาณ 2563. สืบค้นจาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.phpource=pformated/format1.php&cat_id=e71a73a77b1474e63b71bccf727009ce&id=186c06d932b112d342a5c133fbb4ef75
Vesga, J. I., Cepeda, E., Pardo, C. E., Paez, S., Sanchez R., & Sanabria, R. M. (2021). Chronic kidney disease progression and transition probabilities in a large preventive cohort in Colombia. International Journal of Nephrology, 2021, 1-9. https://doi.org/10.1155/2021/8866446
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.