การผลิตถ่านกัมมันต์จากเศษไม้ลำไยโดยใช้ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) และน้ำส้มควันไม้เป็นตัวกระตุ้น
คำสำคัญ:
การผลิตถ่านกัมมันต์, การกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์, เศษไม้ลำไยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการผลิตถ่านกัมมันต์จากเศษไม้ลำไยที่เหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่งของเกษตรกรในประเทศไทย นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตถ่านกัมมันต์ ด้วยใช้วิธีการกระตุ้นทางเคมีร่วมกับความร้อนซึ่งสารเคมีที่ใช้กระตุ้น คือ ซิงค์คลอไรด์ และน้ำส้มควันไม้ โดยกำหนดอัตราส่วนถ่านต่อสารกระตุ้นโดยมวล 1:1 และ 1:2 ใช้อุณหภูมิในการกระตุ้น 800 และ 900 องศาเซลเซียส เวลาที่ใช้ในการกระตุ้น 120 และ 180 นาที จากการศึกษาพบว่า มีการกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ร่วมความร้อนที่สภาะการกระตุ้น อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีค่าความหนาแน่นปรากฏเท่ากับ 0.27 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าการดูดซับไอโอดีน เท่ากับ 612 มิลลิกรัมต่อกรัม รองลงมาคือ การกระตุ้นด้วยน้ำส้มควันไม้ร่วมความร้อน ใช้สภาะการกระตุ้นที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีค่าความหนาแน่นปรากฏเท่ากับ 0.28 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าการดูดซับไอโอดีน เท่ากับ 485 มิลลิกรัมต่อกรัมจากการศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ เป็นตัวกระตุ้นได้ดีกว่าน้ำส้มควันไม้ และเศษไม้ลำไย สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตถ่านกัมมันต์ได้ เพราะผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมถ่านกัมมันต์ (มอก. 900-2547) ค่าการดูดซับไอโอดีนไม่น้อยกว่า 600 มิลลิกรัมต่อกรัม และค่าความหนาแน่นปรากฏไม่น้อยกว่า 0.2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
References
กรมศุลกากร. (ม. ป. ป.). การนำเข้าถ่านกัมมันต์คาค้น HS-Code: 380210000. https://www.customs.go.th/statistic_report.php?.
ฉวีวรรณ เพ็งพิทักษ์. (2562). ถ่านกัมมันต์. กรุงเทพฯ: กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ.
ณัฐวิภา จงรัก. (2554). การผลิตถ่านกัมมันต์จากเมล็ดล าไย โดยการกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีร์ธวัช สิงหศิริ. (2557). สภาวะที่เหมาะสมของการผลิตถ่านกัมมันต์จากต้นไมยราบยักษ์โดยการกระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์และซิงค์คลอไรด์. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 41(4), 527-535.
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. (2555). สมบัติทางกายภาพของวัตถุดิบสมุนไพร. https://www.foodnetworksolution.com/news_and_articles /article/0233/สมบัติทางกายภาพของวัตถุดิบสมุนไพร.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ลำไย : เนื อที่ยืนต้น เนื อที่ให้ผล ผลผลิต และผลผลิตต่อเนื้อที่ให้ผลรายภาคและรายจังหวัดปี 2563. https://www.oae.go.th/assets/ portals/1/fileups/prcaidata/files/longan%2063%20update.pdf .
Bagheri, N. and Abedi, J. (2009). Preparation of high surface area activated carbon from corn by chemical activation using potassium hydroxide. Chemical Engineering Research and Design. 87(8), 1059-1064.
Lua, A. C. and Yang, T. (2 0 0 5 ) . Characteristics of activated carbon prepared from pistachionut shell by zinc chloride activation under nitrogen and vacuum conditions. Journal of colloid and interface science. 290(2), 505–513.
Marcilla, A., Garcı́a-Garcı́a, S., Asensio, M. and Conesa, J. A. (2000). Influence of thermal treatment regime on the density and reactivity of activated carbons from almond shells. Carbon. 38(3), 429–440.
Srisatit, T and Singhasiri, T. (2006). Using activated carbon from eucalyptus (Eucalyptus camaldulensis Dehnh.) and acacia (Acacia mangium Willd.) for chromium and nickel removal from synthesis wastewater. Thai Environmental Engineering Journal 2006. 20(3),
-37.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.