การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสมุนไพรผักเชียงดา

ผู้แต่ง

  • อำไพ สงวนแวว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • ศุภชา นาทีทอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • นฤพร วนาบุปผา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • วันเพ็ญ ละออศรีโสภณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

คำสำคัญ:

พัฒนาผลิตภัณฑ์, เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ, ผักเชียงดา

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้ได้นำเสนอ เรื่องของการพัฒนาเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งในปัจจุบันเป็นเครื่องดื่มที่มีความนิยมในการบริโภคอย่างกว้างขวาง  โดยได้จากการนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพมาผ่านกระบวนการแปรรูป  แล้วบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่พร้อมใช้  ซึ่งจากการศึกษาสรรพคุณในรักษาโรค  และด้านรักษาสุขภาพของสมุนไพรผักเชียงดา  พบว่า มีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน  ยับยั้งการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสที่ลำไส้เล็ก   รวมทั้งช่วยในการหลั่งของอินซูลิน  ช่วยลดน้ำตาลในเลือด   จึงมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน   สามารถรักษาโรครูมาตอยด์และโรคเก๊าท์ ซึ่งยังมีส่วนช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย สามารถลดความอ้วน   และช่วยลดไขมันในเลือดสูง  อีกทั้งยังช่วยละลายลิ่มเลือดและรักษาอาการติดเชื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้

           ดังนั้น  คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะการนำผักเชียงดา  มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสมุนไพรผักเชียงดา โดยมีวิธีการทดลองสูตร 3 อัตราส่วน  และจากนั้นนำไปทดสอบชิม  เพื่อทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสในด้านสี  กลิ่น  รสชาติ  และความชอบโดยรวม โดยวิธีการให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ  (9-Point Hedonic Scale Test) และนำคะแนนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ซึ่งผลการทดสอบ พบว่า สูตรที่ 3 ได้รับคะแนนสูงที่สุด ซึ่งมีส่วนผสม   ได้แก่   ผักเชียงดา  แก่นฝาง  หญ้าหวาน  อบเชย   และ  มะตูม   ในอัตราส่วนร้อยละ 90, 6, 2, 1 และ 1 ตามลำดับ  หลังจากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือก  จากทั้ง  3 สูตร  มาทดสอบกับผู้บริโภคโดยทำการทดสอบ  Central  Location  Test  (CLT)  กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  50  คน  พบว่า  ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่าย  คิดเป็นร้อยละ 98  และผู้บริโภคจะเลือกรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพสมุนไพรนี้   คือ   ถ้าบรรจุภัณฑ์แบบในกล่อง   โอกาสเลือกคิดเป็นร้อยละ  90   โดยราคาที่เหมาะสมของ  ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพผักเชียงดา ที่บรรจุซองละ  2  กรัม  และมีจำนวน  20  ซอง  ต่อ  1  กล่อง  ในราคา  250  บาท คิดเป็นร้อยละ 54

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2549). แนวทางการพิจารณาอาหารประเภท ชาสมุนไพร (ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 28). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม. ป. ป). ตานกกด. https://apps.phar.ubu.ac.th/phargarden/main.php?action=viewpage&pid=169.

ดวงเพกญ ปัทมดิลก และคณะ. (2558). การหาปริมาณ Imperatorin ในผลมะตูมด้วยวิธี UItra Performace Liquid Chromatography (UPLC). วารสารกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์. 57(4), 327-340.

เตกม สมิตินันท์. (2544). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไทย สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช.

ธัญชนก เมืองมั่น และคณะ (2550). การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักเชียงดา (Gymnema inodorum Dence). วารสารโภชนาการ. 42(3), 19-25.

ธีรวัลย์ ชาญฤทธิเสน และปัทมา ไทยอู่. (2552). ผลของชนิดผักเชียงดา (Gymnema inodorum Decne.) และอุณหภูมิการอบแห้งต่อคุณภาพและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ. ใน การประชุมวิชาการประจำปี อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือครั้งที่ 1 (น. 138). เชียงใหม่: อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นุชา สายพุฒิกสิกร. (2553). การสกัดประกอบที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากอบเชยเทศโดยใช้น้ ากึ่งวิกฤต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประไพภัทร คลังทรัพย์ และคณะ. (2550). การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผักเชียงดา. วารสารโภชนาการ. 42(3), 19-25.

ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์ และคณะ. (2552). การเขตกรรมผักเชียงดาเพื่อการผลิตในระดับอุตสาหกรรม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

พิมพ์เพกญพร เฉลิมพงศ์. (2554). Herbal tea/ชาสมุนไพร. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word.

เพกญนภา ทรัพย์เจริญ และคณะ. (2548). เครื่องปรุงในอาหารไทย. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาต าราการแพทย์แผนโบราณ.

ภาวิณี อารีศรีสม และคณะ. (2559). ผลของความเข้มแสงต่อปริมาณคลอโรฟิลล์ และสาร 2-Acetyl-1-pyrroline ของใบเตย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มุทิตา สุวรรณค าซาว. (2556). วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสัมมนาพนมสมุนไพรอินทรีย์ กลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปผักเชียงดาออแกนิคสด. เชียงใหม่: กลุ่มน้ าแม่แตงเชียงใหม่.

ยลดา ศรีเศรษฐ์ และคณะ. (2560). ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาเอ็นอ่อน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 13(1), 1-10.

รุ่งรัตน์ เอียดแก้ว, วุฒิพล หัวเมืองแก้ว และอภิชาต ภัทรธรรม. (2555). การใช้ประโยชน์จากของป่าของราษฎรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40(3), 992-1001.

ศรัณย์ ขันติประเสริฐ และปณัทพร เรืองเชิงชุม. (2562). การนำระบบการวางแผนความต้องการวัสดุประยุกต์ใช้ในการผลิตชาผักเชียงดา กรณีศึกษา ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อพ.สธ.คลองไผ่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9(3), 54-64.

ศูนย์วนวัฒนวิจัยภาคเหนือ. (2555). พรรณไม้ในกระถางศูนย์วนวัฒนวิจัยภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้.

สุธรรม อารีกุล. (2552). องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของประเทศไทย เล่ม 2. เชียงใหม่: มูลนิธิโครงการหลวง.

สุธาทิพ รักพืช และ คณะ. (2550). สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอาหาร. http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/69.

สุภาภรณ์ สาชาติและคณะ. (2558). วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

อัจฉรา นิยมเดชา และมงคล คงเสน. (2556). ผลของการเสริมใบเตยหอม (Pandanus amarylifolius Roxb) ในอาหารนกกระทาญี่ปุ่นและคุณภาพไข่. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ครั้งที่ 2 “รวมพลังสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและประเทศไทย” 19 สิงหาคม 2556 (น. 2-10). นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

Hong, H.J., B. Manochai, G. Trakoontivakorn and V.Na Thalang. (2004). Fibrinolytic activity of Thai indigenous vegetables. Kasetsart Journal. 38, 241 - 246.

N.M. IsaI, et al. (2012). In vitro anti-inflammatory, cytotoxic and antioxidant activities of boesenbergin A, a chalcone isolated from Boesenbergia rotunda (L.) (fingerroot). Braz J Med Biol Res. 2012. 45(6), 524-530.

Shimizu, K., M. Ozeki, K. Tanaka, K. Iton, S. Nakajyo, N. Urakawa, and M. Atsuchi. (1997). Suppression of glucose absorption by extracts from the leaves of Gymnema inodorum. Journal of Veterinary Medical Science. 59(9), 753 - 757.

Shimizu, K., M. Ozeki, A. Iino, S. Nakajyo, N. Urakawa and M. Atsuchi. (2001). Structure-activity relationships of triterpenoid derivatives extracted from Gymnema indorum leaves on glucose absorption. Japan Journal of Pharmacol. 86, 223 - 229.

Tangkanakul, P., G. Trakoontivakorn and C. Jariyavattanavijit. (2005). Extracts of Thai indigeneous vegetable as rancid inhibitor in a model system. Kasetsart Journal. 39, 274-283.

USDA Agricultural Research Service (2017). National Plant Germplasm System. USDA Agricultural Research Service. https://data.nal.usda.gov/dataset/national -plant-germplasm-system.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-02-2023