การตรวจสอบการปลอมปนของน้ำในน้ำกะทิด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

ผู้แต่ง

  • รวิภัทร ลาภเจริญสุข สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพ
  • ธยานนท์ ลันวงษา
  • พันฉาย สันติสกุลวงศ์
  • วุฒิพงษ์ บุตรนนท์

คำสำคัญ:

กะทิ, การปลอมปน, เนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

บทคัดย่อ

           กะทิเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารไทยที่สำคัญหลากหลายชนิด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคทั้งภายในและภายนอกประเทศ  คือการปลอมปนของกะทิ  โดยวัสดุที่มีราคาถูกและมีลักษณะทางกายภาพที่คล้ายกับกะทิ น้ำมักถูกนำมาใช้ปลอมปนในกะทิ ซึ่งทำให้ยากต่อการแยกได้ด้วยตาเปล่า  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการตรวจสอบการปลอมปนของน้ำในน้ำกะทิสดด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี  ตัวอย่างของน้ำกะทิสดได้มาจากการคั้นกะทิจากมะพร้าว ซึ่งซื้อมาจากตลาด น้ำกะทิถูกนำมาผสมด้วยน้ำกลั่นที่ระดับการผสมตั้งแต่  10-90 %w/w  เนียร์อินฟราเรดสเปกตรัมถูกบันทึกในช่วงเลขคลื่น  12500 ถึง  4000  cm-1  สเปกตรัมเนียร์อินฟราเรดเริ่มต้นถูกใช้ในการสร้างแบบจำลองด้วยเทคนิค partial  least  squares  regression   (PLSR)    แบบจำลองแสดงถึงสมรรถนะ  ในการตรวจสอบกะทิปลอมปน   ในกลุ่มข้อมูลสร้างแบบจำลอง  และทดสอบแบบจำลอง  ด้วยค่า gif.latex?R_{training}^{2} = 0.96  และ  gif.latex?R_{testing}^{2} = 0.85  ตามลำดับ  ผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการประยุกต์ใช้เนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี  ในการตรวจสอบการปลอมปนของน้ำในกะทิได้

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2565). สินค้ามะพร้าวและกะทิ. https://api.dtn.go.th/files/v3/60f7d503ef41404c21342ef0/download.

วิชัย ริ้วตระกูล และคณะ. (2527). การประยุกต์สเปคโตรสโคปีในเคมีอินทรีย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.

Alyaqoubi, S., Abdullah, A., Samudi, M., Abdullah, N., Addai, Z. R., & Musa, K. H. (2015) . Study of antioxidant activity and physicochemical properties of coconut milk (Pati santan) in Malaysia. Journal of Chemical and Pharmaceutical Research. 7(4), 967-973.

Bazar, G., Romvari, R., Szabo, A., Somogyi, T., Eles, V., & Tsenkova, R. (2016). NIR detection of honey adulteration reveals differences in water spectral pattern. Food Chemistry. 194, 873-880.

Guelpa, A., Marini, F., Plessis, A. D., Slabbert, R., & Manley, M. (2017). Verification of authenticity and fraud detection in South African honey using NIR spectroscopy. Food Control. 73, 1388-1396.

Li S., Zhang, X., Shan, Y., Donglin, S., Ma, Q., Wen, R., & Li J. (2017). Qualitative and quantitative detection of honey adulterated with high-fructose corn syrup and maltose syrup by using near-infrared spectroscopy. Journal of Sensor Letters. 218, 231-236.

Ma, H. L., Wang, J. W., Chen, Y. J., Cheng, J. L., & Lai, Z. T. (2017). Rapid authentication of starch adulterations in ultrafine granular powder of Shanyao by near-infrared spectroscopy coupled with chemometric methods. Food Chemistry. 215, 108-115.

Osborne, B. G., & Fearn, T. 1986. Near infrared spectroscopy in food analysis (1st published, pp. 117). United Kingdom: Longman Science & Technical.

Thitibunjan, N., & Sirisomboon, P. (2014). Detection of Adulteration of Soy Sauce by Brine Using Near Infrared Spectroscopy. Agriculture and Agricultural Science Procedia. 2, 212-217.

Xu, L., Shi, P. T., Ye, Z. H., Yan, S. M., & Yu, X. P. (2013). Rapid analysis of adulterations in Chinese lotus root powder (LRP) by near-infrared (NIR) spectroscopy coupled with chemometric class modeling techniques. Food Chemistry. 141(3), 2434-2439.

Xu, L., Shi, W., Cai, C. B., Zhong, W., & Tu, K. (2 0 1 5 ) . Rapid and nondestructive detection of multiple adulterants in kudzu starch by near infrared (NIR) spectroscopy and chemometrics. LWT - Food Science and Technology. 61, 590-595.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-02-2023