แบบจำลองสำหรับประมาณค่าปริมำณเมฆจากค่ารังสีอาทิตย์รวมในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ เพชรห้วยลึก มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง

คำสำคัญ:

ปริมาณเมฆ, ค่ารังสีอาทิตย์รวม, สมการเอ็มพิริคัล, จังหวัดภูเก็ต

บทคัดย่อ

                      ในการวิจัยครั้งนี้    ได้พัฒนาแบบจำลองการประมาณค่า   ปริมาณเมฆรายวันเฉลี่ยรายเดือน  จากข้อมูลรังสีอาทิตย์รวมรายวันเฉลี่ยรายเดือน  ในจังหวัดภูเก็ต  ระหว่างปี พ.ศ. 2548  –  2560  และทดสอบแบบจำลองด้วยข้อมูลของปี  พ.ศ. 2561  –  2563   โดยใช้แบบจำลอง   ในรูปของสมการเอ็มพิริคัล   9  รูปแบบ  ที่พัฒนามาจากสมการถดถอยเชิงเส้นของ Angström - Prescott  และรูปแบบสมการอื่น ๆ ได้แก่  สมการกำลังสอง  สมการกำลังสาม ลอการิทึม เอ็กโพเนนเชียล และยกกำลัง เป็นต้น  ผลการการศึกษา  พบว่า  แบบจำลองที่ให้ผลทดสอบสมรรถนะดีที่สุด   อยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่าง    อัตราส่วนปริมาณเมฆรายวันเฉลี่ยรายเดือนต่อ   ค่าปริมาณเมฆสูงสุดของการวัด   {C_{0}})     และ   ค่ารังสีอาทิตย์รวมต่อรังสีอาทิตย์    นอกบรรยากาศโลกรายวันเฉลี่ยรายเดือน    H_{0})     เป็น H_{0})-0.9193&space;\right&space;]     ที่ให้  ผลการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  (R)   ค่าสัมประสิทธิ์  Nash - Sutcliffe  (NS)   ความคลาดเคลื่อนยกกำลังสองเฉลี่ยรากที่สอง (RMSE)  ความคลาดเคลื่อนในรูปความเอนเอียงเฉลี่ย (MBE)  ความคลาดเคลื่อนในรูปความเอนเอียงสมบูรณ์เฉลี่ย (MABE)  ร้อยละความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (MPE)  ร้อยละความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE)  และค่าสถิติแบบที (t-stat)  เท่ากับ   0.884   0.781  0.468  0.310  0.340  5.086%   5.561%   และ  2.929 ตามลำดับ  โดยได้ค่าประเมินตัวบ่งชี้สมรรถนะทั้งหมด (GPI)  เท่ากับ 0.619 แสดงว่าค่าที่ได้จากแบบจำลองแบบเอ็กโพเนนเชียลและจากการวัดมีความสอดคล้องกัน   และสามารถนำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกันได้

References

A.M. Muzathik, W.B.W. Nik, M.Z. Ibrahim, K.B. Samo1, K. Sopian and M.A. Alghoul. (2011). Daily Global Solar Radiation Estimate Based on Sunshine Hour. International Journal of Mechanical and Materials Engineering (IJMME). 6(1), 75-80.

Can Ekici. (2019). Total Global Solar Radiation Estimation Models and Applications: A review. International Journal of Innovative Technology and Interdisciplinary Sciences. 2(3), 236-252.

Girma Dejene Nage. (2018 ) . Estimation of Monthly Average Daily Solar Radiation from Meteorological Parameters: Sunshine Hours and Measured Temperature in Tepi, Ethiopia. International Journal of Energy and Environmental Science. 3(1), 19-26.

Md. Nazmul Islam Sarkar and Anwarul Islam Sifat. (2016) . Global Solar Radiation Estimation from Commonly Available Meteorological Data for Bangladesh. Renewables. 3(6), 1-14.

Qingwen Zhang, Ningbo Cui, Yu Feng, Yue Jia, Zhuo Li and Daozhi Gong. (2018) . Comparative Analysis of Global Solar Radiation Models in Different Regions of China. Advances in Meteorology Journal. 2018, 1-21.

Slavica Brkić and Blanka Tuka. (2018) . Estimation of Global Solar Radiation from Sunshine Duration for Mostar, Bosnia and Herzegovina. Journal of Scientific and Engineering Research. 5(11), 265-273

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-02-2023