การใช้เครื่องมือ FMEA (Failure Mode and Effects Analysis) ในการจัดการความเสี่ยงของระบบยาแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสนม จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พรรณวิภา ลาภจิตร โรงพยาบาลสนม จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยง, ระบบยา, FMEA

บทคัดย่อ

               ระบบยามีความเกี่ยวข้องกับหลายวิชาชีพ   เช่น  แพทย์  เภสัชกร  พยาบาล  และวิชาชีพอื่นในโรงพยาบาลในการดำเนินงานต่าง ๆ  จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงและต้องเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงเพราะหากเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นที่กระบวนการใด ๆ ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อผู้ป่วย  หรือผู้ปฏิบัติงานได้  ดังนั้นการทบทวนระบบงานและวิเคราะห์ความเสี่ยงเชิงรุกในระบบงานโดยทีมสหสาขาวิชาชีพจึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการอยู่เสมอ

                การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   (Action   research)  โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ รวม 10 คน ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับระบบยาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสนม ใช้การจัดการความเสี่ยงเชิงรุก  ตามขั้นตอนของ  FMEA  ได้แก่  1)  เขียนผังกระบวนการทำงาน 2)  ระบุข้อบกพร่อง  ความเสี่ยง  และผลที่เกิดจากข้อบกพร่องในแต่ละขั้นตอน  3)  ระบุค่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดข้อบกพร่อง  (occurrence),  ค่าความรุนแรง  (severity)  และค่าความสามารถในการค้นพบข้อบกพร่อง / ความเสี่ยง   (detection)    4)  คำนวณค่า  RPN (Risk Priority Number)  5)  วางมาตรการป้องกัน/ลด ความเสี่ยง

            ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการทำงานระบบยาผู้ป่วยในมีทั้งสิ้น 7 กระบวนการหลัก พบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้  54  รายการ  โดยพบมากสุดในขั้นตอนการบริหารยาจากคำสั่งเพิ่มการใช้ยานอกช่วงเวลาที่ห้องยาเปิดบริการ   พบ  14  รายการ    (ร้อยละ   25.93) รองลงมาคือ ขั้นตอนการบริหารยาจากคำสั่งเพิ่มการใช้ยาในช่วงเวลา  ที่ห้องยาเปิดบริการ (8.00-20.00 น.)  พบ 11 รายการ  (ร้อยละ 20.37)  ซึ่งทั้งสองขั้นตอนนี้มีระดับความรุนแรงจากผลกระทบของ   ความเสี่ยงที่ระดับสูง    เนื่องจากเป็นขั้นตอนในการบริหารยาให้ผู้ป่วยโดยตรง  ผลกระทบจึงถึงที่ตัวผู้ป่วย  และยังเป็นการใช้ยาที่สำรองที่หอผู้ป่วยโดยมิได้ผ่านการตรวจสอบจากเภสัชกร    ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้    ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นภาพความรุนแรงของผลกระทบ  ที่ชัดเจนมากขึ้น   เกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัย   และพัฒนามาตรการเพื่อป้องกัน/ ลด/ กำจัดความเสี่ยงเหล่านั้น ค่าดัชนีความเสี่ยงของระบบยาผู้ป่วยในจึงลดลงเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนจัดการความเสี่ยงด้วยเครื่องมือ FMEA

References

จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล และภาสกร รัตนเดชสกุล. (2560). ความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบจัดการด้านยา. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์สภาเภสัชกรรม.

ฉัตราภรณ์ ชุ่มจิต และเยาวลักษณ์ อ่ าร าไพ. (2019). การจัดการระบบยาเพื่อความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาล: บทวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสในการพัฒนา. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal. 4(1), 127-135.

มนตรี บุญมาก, พงศกร เอมจั่น และณชา แย้มยงค์. (2560). การวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขที่ ปัญหาในกระบวนการฉีดหลอดพลาสติกโดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและ ผลกระทบด้านคุณภาพ FMEA. (ปริญญานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

อภิฤดี เหมะจุฑา. (2560). ความปลอดภัยในการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม.

ICH Harmonised Tripartite Guideline. (2005). Quality risk management Q9. In International conference on harmonization of technical requirements for registration of pharmaceuticals for human, 9 November 2005 (p. 1-19). United States of America: ICH Harmonised Tripartite Guideline.

Jiang, Y., Jiang, H., Ding, S. & Liu, Q. (2015). Application of failure mode and effect analysis in a clinical chemistry laboratory. Clinica Chimica Acta. 448, 80-85.

Jordan S, Tunnicliffe C, Sykes A. (2002). Minimizing side-effects: the clinical impact of nurseadministered ‘side-effect’checklists. Journal of Advanced Nursing. 37(2), 155-65.

Kapadia N, Raval S, Gadhave P. (2017). Medication Errors Related to High Alert Medication.Journal of Nursing and Health Studies. 2(3), 15.

Magnezi, R., Hemi, A., & Hemi R. (2016) . Using the failure mode and effects analysis model to improve parathyroid hormone and adrenocorticotropic hormone testing. Risk Management and Healthcare Policy. 9, 271-274.

Nagamine, J., & Williams, M. (2 0 0 5 ) . Quality Tools: Root Cause Analysis (RCA) and Failure Modes and Effects Analysis (FMEA). The Hospitalist. 9, 19-22.

Najar, A.V., Ghane, H., Ebrahimipour, H., Nouri, G.A. & Dadpour. (2016). Identification of priorities for medication safety in the neonatal intensive care unit via failure mode and effect analysis. Iranian Journal of Neonatology. 7(2), 28-34.

Rakesh R, Joe BC, & Mathew G. (2 0 1 3 ) . FMEA Analysis for Reducing Breakdowns of a Sub System in the Life Care Product Manufacturing Industry. International Journal of Engineering Science and Innovative Technology. 2(2), 218-225.

World Health Organization. (2013). WHO guidelines on quality risk management. In WHO Expert Committee on specifications for pharmaceutical preparation (p. 6 1-9 2) . Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-02-2023