พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • นาตยา พีระวรรณกุล โรงพยาบาลพรานกระต่าย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรงพยาบาลพรานกระต่าย

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2 โรงพยาบาลพรานกระต่าย ประชากรเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 617 คน  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของ Krejcie and Morgan จำนวน 243 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย (จับฉลากแบบคืน) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Chi–square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุมาก รูปร่างท้วม การศึกษาต่ำ  ทำงานหนัก รายได้ต่ำ  มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานในระดับสูงแต่ยังมีปัญหาในเรื่องของการใช้ยารักษาโรคเบาหวานซึ่งยังมีการยืมยาเมื่อยาหมด รวมทั้งความเชื่อที่ผิด ๆ  เกี่ยวกับการออกกำลังกายเนื่องจากเชื่อว่า   “การประกอบอาชีพที่ทำงานหนักทุกวันนี้เลยทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย      และคิดว่าการทำงานทุกวันถือว่าได้ออกกำลังกายแล้ว”     มีพฤติกรรมการดูแลตนเองระดับปานกลาง      (gif.latex?\bar{x}  =  3.33 , SD. = 0.47) โดยด้านการใช้ยามีค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 2.53, SD. = 0.92) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่  2 ได้แก่ อาชีพ   และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน   ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด  ได้แก่  เพศ  อายุ ดัชนีมวลกาย การศึกษา ระยะเวลาที่ป่วย การได้รับความรู้  วิธีรักษา  ความรู้และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ดังนั้น ทีมสุขภาพต้องเร่งสร้างความรู้ – ความเข้าใจ   เกี่ยวกับการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานและพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยเฉพาะด้านการออกกำลังกายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค ส านักโรคไม่ติดต่อ. (2558). คู่มือประเมินการด าเนินงานคลินิก NCD คุณภาพปีงบประมาณ 2558. http://www.thaincd.com/2016/news/hot-newsdetail.php?id=9040&gid=18.

ไชยา ท่าแดง. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลสะสมเกาะเม็ดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดวงพร กตัญญุตานนท์ และคณะ. (2560). พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สถานีอนามัยแห่งหนึ่งในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 6(2), 53–62.

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 12(3), 515–522.

น้ำเพชร สายบัวทอง และ สิริรัตน์ ลีลาจรัส. (2564). ความรู้สำหรับการประเมินการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และคลิปวิดีโอการสอนการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองผ่านทางไลน์ในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารพยาบาลตำรวจ. 13(1), 245–252.

โพธิ์ศรี แก้วศรีงาม. (2564). ระบบการดูแลระยะยาวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 11(2), 1–26.

มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ์. (2565). การก าหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf.

โรงพยาบาลพรานกระต่าย. (2565). ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรงพยาบาลพรานกระต่าย พ.ศ.2561–2564. กำแพงเพชร: ผู้แต่ง.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลบ้านท่าข้าม ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. http://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/ mFile/20180316191617.pdf.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติส าหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-02-2023