ชุดฝึกปฏิบัติการเครื่องทำความเย็น ประเภท ตู้เย็น

ผู้แต่ง

  • อมร อ้นกรอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • เจวารินทร์ ฐานะโภคิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

คำสำคัญ:

ชุดฝึกปฏิบัติการเครื่องทำความเย็น, ใบประลอง, เครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกปฏิบัติการเครื่องทำความเย็น  ประเภท ตู้เย็น  และใช้ในการประกอบการเรียนการสอนวิชาเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ   รหัสรายวิชา TEDEE104 เป็นวิชาที่อยู่ในแผนการศึกษาใน ระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต  สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 ชุดฝึกปฏิบัติการเครื่องทำความเย็น ประเภท ตู้เย็น ส่วนที่ 2 ใบประลอง  มีดังนี้  1 เรื่องงานระบบทำความเย็น  2  เรื่องงานต่อวงจรไฟฟ้าเครื่องทำความเย็น 3 เรื่องงานสุญญากาศ  ตรวจรอยรั่ว  เติมสารทำความเย็น  จากนั้นได้นำชุดฝึกและใบประลองที่ได้จากการสร้างเสร็จแล้วไปทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน

          โดยผลการประเมินความเหมาะสมชุดฝึกปฏิบัติการเครื่องทำความเย็น ประเภท ตู้เย็น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างชุดฝึก  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่   4.73   คะแนน   ซึ่งมีความเหมาะสมระดับดีมาก ด้านการใช้งานของชุดฝึก  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่   4.66   คะแนน  ซึ่งมีความเหมาะสมระดับดีมาก ด้านใบประลองชุดฝึก  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่  4.33 คะแนน ซึ่งมีความเหมาะสมระดับดี

References

ชม ภูมิ. (ม.ป.ป.). หลักการทฤษฎีความหมายของชุดฝึก. http://etheses.psru.ac.th.

อ้อมน้อย เจริญธรรม. (2534). ความหมายของชุดฝึก. http://www.edu.nu.ac.th.

บรู๊ค และ บาร์เนทท์. (2540). ความหมายของชุดฝึก. http://www.etheses.rbru.ac.th.

วรสุดา บุญยไวโรจน์. (ม.ป.ป.).ลักษณะของชุดฝึก. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จากhttp://www.kksec.gop.th.

สมศักดิ์ สุโมตยกุล. (2552). เครื่องท าความเย็นและเครื่องปรับอากาศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประเสริฐ สาสี, พงศธร ด่านตระกูล และ อนันต์ วงศ์จันต๊ะ. (2557). ชุดฝึกวงจรไฟฟ้าของเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ. ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-02-2023