การเปรียบเทียบผลของสารทำงานภายในท่อความร้อนที่มีผลต่อการระบายความร้อนแผงเซลล์แสงอาทิตย์
คำสำคัญ:
การเพิ่มประสิทธิภาพ, แผงเซลล์แสงอาทิตย์, ท่อความร้อนแบบแบนบทคัดย่อ
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและเปรียบเทียบผลของสารทำงานภายในท่อความร้อน สำหรับระบายความร้อนออกจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้สำหรับทดสอบเป็นแบบโมโนคริสตัลไลน์ ขนาด 80 วัตต์ ซึ่งจะทำการทดสอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 3 แบบ คือ แบบที่ 1 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไม่ได้ติดตั้งท่อความร้อน (HP1) แบบที่ 2 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งท่อความร้อนโดยใช้เอทานอล (HP2) เป็นสารทำงาน และ แบบที่ 3 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งท่อความร้อนโดยใช้สารทำความเย็น R-11 เป็นสารทำงาน (HP3) จากผลการทดสอบ พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ไม่ได้ติดตั้งท่อความร้อน มีค่าเท่ากับ 56.4 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 9.1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแผงที่ทำการติดตั้งท่อความร้อนโดยใช้เอทานอลเป็นสารทำงาน มีอุณหภูมิที่ผิวของแผงเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉลี่ย เท่ากับ 52.1 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 10.3 เปอร์เซ็นต์ และแผงที่ทำการติดตั้งท่อความร้อนโดยใช้สารทำความเย็น R-11 เป็นสารทำงาน มีอุณหภูมิผิวของแผงเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉลี่ย เท่ากับ 48.5 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 11.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการทดสอบจะเห็นได้ว่า การติดตั้งท่อความร้อนเพื่อระบายความร้อนทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
References
สัมพันธ์ ฤทธิเดช. (2555). เทคโนโลยีท่อความร้อน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย.
ถนัด เกษประดิษฐ. (2551). เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบเทอร์โมไซฟอน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: ห้องวิจัยท่อความร้อน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุธนา ศรีอุดม, ธีรพัฒน์ ชมภูคำ และ สัมพันธ์ ฤทธิเดช (2557). อุณหภูมิส่วนทำระเหย ระยะพิทธ์ และสารทำงานที่มีต่อรูปแบบการไหลและการถ่ายเทความร้อนของท่อความร้อนแบบสั่นวงรอบชนิดเกลียวขด. ใน การประชุมวิชาการการถ่ายเทพลังงานความร้อนและมวลในอุปกรณ์ด้านความร้อนและกระบวนการ ครั้งที่ 13 วันที่ 13 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2557 (น. 47-53). จันทบุรี: เจ้าหลาว คาบาน่า รีสอร์ท.
Rittidech, S. and S. Sangiamsuk. (2012). Internal Flow Patterns on Heat Transfer Performance of a Closed-Loop Oscillating Heat Pipe with Check Valves. Experimental Heat Transfer. 25(1), 48-57.
Xu, J.L., Y.X. Li, and T.N. Wong. (2005). High speed flow visualization of a closed loop pulsating heat pipe. International Journal of Heat and Mass Transfer. 48(16), 3338-3351.
Yi, H., Z.H.Liu, and J.Wang. (2003). Heat transfer characteristics of the evaporator section using small helical coiled pipes in a looped heat pipe. Applied Thermal Engineering. 23(1), 89-99.
Y.Sriudom, S. Ritticech, and T. Chompookham. (2014). The Helical Oscillating Heat Pipe: Flow Pattern Behaviour Study. Advances in Mechanical Engineering. 7(1), 1-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.