ความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ในส้มตำและการลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ตกค้างโดยการล้างครก

ผู้แต่ง

  • วชิระ สิงห์คง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • บุณยกฤต รัตนพันธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • สุจิตตรา เที่ยงสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • สุดารัตน์ แก้วดวงแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ครกส้มตำ, สารตกค้าง, สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาระดับการตรวจพบสารก่อภูมิแพ้อาหารในครกส้มตำ ภายในตลาดเทศบาล ท่ามะเขือ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร  จำนวน 10 ร้าน  โดยเลือกตัวอย่างจากการสุ่มแบบไม่เฉพาะเจาะจง    เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ในส้มตำ ศึกษาปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ตกค้าง  ในครกส้มตำและศึกษาการล้างครกส้มตำเพื่อลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ตกค้าง    ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้    ความเข้าใจเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ในอาหารระดับมากที่สุด  (𝑥̅  = 4.30  ,  S.D.  = 0.53)   และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ  จะพบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจสูงสุด  ในส่วนสารก่อภูมิแพ้อาหาร    คือสารที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันและส่งผลให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้น  (𝑥̅ = 4.92 , S.D. = 0.27) ส่วนข้อที่ผู้ตอบแบบสอบถามความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารก่อภูมิแพ้ต่ำสุด   คือ หลังรับประทานอาหารที่แพ้สามารถทานยาแก้แพ้เพื่อรักษาอาการได้ (𝑥̅ = 3.37 ,  S.D. = 0.61)  ส่วนการศึกษาปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ตกค้างในครกส้มตำ พบว่า ร้านส้มตำทั้ง   10  ร้าน  ตรวจพบสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ก่อนล้างครกส้มตำ  และหลังจากล้างครกส้มตำ  ตรวจไม่พบสารก่อภูมิแพ้   และศึกษาวิธีการล้างครกส้มตำและชนิดของครกที่มีผลต่อการตกค้างของสารก่อภูมิแพ้เพื่อลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่ตกค้าง โดยศึกษาวิธีการล้างครกด้วยผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน น้ำร้อน น้ำเย็น พบว่า ทั้ง 3 วิธี สามารถล้างสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้ และชนิดของครก 3 ชนิด คือ ครกไม้ ครกดินเผา และครกหิน ตรวจพบสารก่อภูมิแพ้ก่อนการล้างครก และเมื่อทำการล้างครก พบว่า ครกทั้ง 3 ชนิดสามารถใช้ทุกวิธีขจัดสารก่อภูมิแพ้ที่ตกค้างอยู่บนครกส้มตำได้ทั้งหมด

References

ดารณี หมู่ขจรพันธ์. (2552). กฎระเบียบของอาหารก่อภูมิแพ้ที่ต้องรู้. วารสารเพื่อคุณภาพ. 144, 69-71.

วิภา สุโรจนะเมธากุล. (2553). เทคนิค ELISA กับการตรวจสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร. Food Focus Thailand. 47(5), 34-37.

วิภา สุโรจนะเมธากุล. (2554). สารก่อภูมิแพ้อาหาร (Food Allergen). สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. 41(3), 211-216.

วิภา สุโรจนะเมธากุล. (2555). สารก่อภูมิแพ้ที่ปนเปื้อนในอาหาร (Hidden Allergen in Food). วารสารอาหาร. 42(3), 191-197.

Biocontrol. (2016). Rapid protein detetiontion test. Massachusetts: Merck Millipore.

Spektor, Y. (2009). Effect of cleaning protocols on the removal of milk, egg, and peanut allergens from abraded and unabraded stainless steel surfaces. Florida: Master of Science. University of Florida.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-02-2023