รูปแบบการให้บริการสุขภาพชุมชนชายแดนไทย-ลาว อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การให้บริการสุขภาพ, ชุมชนชายแดนไทย-ลาวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการให้บริการสุขภาพชุมชนชายแดนไทย-ลาว อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหา การให้บริการสุขภาพชุมชนชายแดนไทย - ลาว กลุ่มตัวอย่างเป็น ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านบ่อเบี้ย และเคยรับบริการด้านสาธารณสุข จำนวน 156 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ร้อยละ 64.7 เพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.9 ปี (S.D. = 12.2) ร้อยละ 67.3 สถานภาพคู่ ร้อยละ 99.4 สัญชาติไทย ร้อยละ 55.1 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 55.1 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และระดับคุณภาพ การให้บริการสุขภาพชุมชน 1) ด้านสถานบริการด่านแรก ในการเข้าใช้บริการ ร้อยละ 14.1 อยู่ในระดับต่ำ ความพอเพียงของการบริการ ร้อยละ 8.3 อยู่ในระดับต่ำ ความต่อเนื่องของการบริการ ร้อยละ 13.5 อยู่ในระดับต่ำ การจัดเตรียมบริการ ร้อยละ 14.8 อยู่ในระดับต่ำ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพชุมชนชายแดนไทย - ลาว ด้วยการศึกษาความต้องการ และข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยรูปแบบการให้บริการสุขภาพชุมชน ประกอบด้วย 1) ด้านการเข้าถึงบริการ 2) ด้านความพันธ์ระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการ 3) ด้านการบริการอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านการบริการแบบผสมผสาน 5) ด้านการบริการแบบองค์รวม ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการให้บริการสุขภาพชุมชน พบว่า ภายหลังการทดลองคะแนนการให้บริการสุขภาพชุมชนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และพบว่าภายหลังการทดลองคะแนนความพึงพอใจ ต่อรูปแบบเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ขั้นตอนที่ 4 สรุปบทเรียนการใช้รูปแบบ พบว่า ต้องมีการชี้แจง ทบทวนแนวปฏิบัติและพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมบุคลากรของสถานบริการ
References
กฤตยา อาชนิจกุล, พันธุ์ทิพย์ กาญจนะ และจิตรา สายสุนทร. (2548). ค าถามและข้อท้าทายต่อนโยบายรัฐไทยในการจัดการปัญหามิติสุขภาวะ และสิทธิของแรงงานข้ามชาติ. นครปฐม: สถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
กฤษณ์ พงศ์พิรฬห์, สุพัตรา ศรีวนิชชากร และ Barbara starfielf. (2551). การประเมินบริการปฐมภูมิของประเทศไทยในมุมมองของผู้ให้บริการ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2(3), 401-408.
ชื่นพันธ์ วิริยะวิภาต, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, สุพัตรา สิมมาทัน และบุญทนากร พรมภักดิ์. (2559). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันควบคุมวัณโรคตามแนวชายแดนไทย-ลาว ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ตามแนวทางการบันทึกความร่วมมือ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 23(1), 112-133.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์และญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วย โปรแกรมส าเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 5(1), 496-506.
ปิยะ ศิริลักษณ์. (2556). การศึกษาคุณภาพการให้บริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในมุมมองของผู้ให้บริการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะแพทยศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิษณุรักษ์ กันทวี, ภัทรพล มากมี, ทศพล เมืองอิน และกนกวรรณ สุวรรณรงค์. (2563). การจัดการระบบสุขภาพชุมชนชายแดนไทย-ลาว กรณีศึกษาบริเวณชุมชนที่มีจุดผ่อนปรน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย. วารสารควบคุมโรค. 46(4), 579-594.
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (2554). การประเมินการปฏิบัติตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านโคก. (2563). รายงานประจำปี 2563. อุตรดิตถ์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ บ้านโคก.
ศศิวิมล ชุตินันทกุล. (2547). การวิเคราะห์องค์ประกอบการวางแผนการจัดอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและการพัฒนาระบบสุขภาพ คณะพยาบาลศาสตร์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall, Englewood cliffs.
KREJCIE, R. V. & MORGAN, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
William Hogg, Margo Rowan, Grant Russell, Robert Geneau and Laura Muldoon. (2007). Framework for primary care organizations: the importance of a structural domain. International Journal for Quality in Health Care 2008. 20(5), 308–313
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.