การมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขในการบริหารงานของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดสุโขทัยและความสัมพันธ์กับปัจจัยบางประการ
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมในการบริหารงานสาธารณสุข, สาธารณสุขอำเภอบทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุข ในการบริหารงานสาธารณสุขอำเภอเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อประสิทธิผลของการบริหารงานสาธารณสุข การศึกษาวิจัยสำรวจนี้เป็นการศึกษา ระดับการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ในจังหวัดสุโขทัย และความสัมพันธ์กับปัจจัยบางประการ กลุ่มตัวอย่างเป็น บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดสุโขทัย จำนวน 270 คน เครื่องมือ ที่ใช้ คือ แบบสอบถามชนิดถามตอบด้วยตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม – มีนาคม 2564 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนาคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้การทดสอบค่าคะแนนที่การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และนำตัวแปรกลุ่มที่พบความสัมพันธ์แปลงเป็น ตัวแปรหุ่น เพื่อวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.6 อายุระหว่าง 41 - 50 ปี มากที่สุด ร้อยละ 51.6 มีระดับระดับการศึกษาชั้นปริญญาตรี ร้อยละ 60.2 มีรายได้ที่ 25,001 – 30,000 บาท เป็นร้อยละ 27.00 ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 53.1 ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 11 - 15 ปี ร้อยละ 46.1 และมีประสบการณ์ในการอบรมถ่ายทอดมากกว่า 10 ครั้ง ร้อยละ 83.6 ผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมรายด้านที่สำคัญ พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคลสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 72.8 - 76.8 รองลงมาได้แก่การมีส่วนร่วมในการวางแผนงานโครงการและดำเนินการตามแผนร้อยละ 71.0 - 75.3 ส่วนการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารด้านการประสานงานน้อย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.5 - 35.2 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับปัจจัยบางประการได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา รายได้ ตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน ระยะเวลา ในการปฏิบัติงาน และประสบการณ์ในการอบรม มีความสัมพันธ์กับ ระดับการมีส่วนร่วม ดังนั้น ควรพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารให้ยกระดับยิ่งขึ้นผ่านตัวแปรบางประการที่นำมาศึกษานี้
References
ขนิษฐา ไชยแสนท้าว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย ขนาดใหญ่ : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทองหล่อ เดชไทย. (2555). หลักการบริหารงานสาธารณสุข (Principles of Public Health Administration). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์.
บัญชร แก้วส่อง และคณะ. (2559). สถานการณ์และความต้องการพัฒนาวิสัยทัศน์ของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภาส ศิลปรัศมี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กองวิจัยและประเมินผล กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
พาลาภ สิงหเสนี และคณะ. (2555). การมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพชีวิตของชุมชน และการพัฒนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาการแก้ปัญหาสารพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. กรุงเทพฯ: อักษรโสภณ.
พรพรรณ ระวังพันธ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะหลักของสาธารณสุขอำเภอในภาคกลาง.(วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารงานสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพเราะ ไตรติลานันท์. (2534). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัสสุรีย์ คูณกลาง. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารงานสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เมธี จันท์จารุภรณ์. (2557). ปัญหาและความต้องการทางการบริหารของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอในเขต ภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รวิภาธรรม โชติ. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารระดับกลางในระบบราชการไทย. www.polpacon7.ru.ac.th/download/article/.
วันเพ็ญ ตั้งสะสม. (2562). อิทธิพลของสถานภาพส่วนบุคคล ต่อความสามารถในการปฏิบัติงานและภาวะผู้นำที่มีต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของหัวหน้าสถานีอนามัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรเดช จันทรศร. (2554). การพัฒนาองค์การ: การวินิจฉัยปัญหาและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิริชัย ใจศิริ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการด าเนินงานสาธารณสุขในเขตชนบท จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิทย์วิบูลย์ผลประเสิรฐ. (2563). การสาธารณสุขไทย 2562-2563. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวสู่การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สมุทรปราการ: โรงพิมพ์เดชกมลออฟเซท.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). (2558). รายงานประจ าปี 2557 การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. นนทบุรี: บริษัท เอส พี เอส พริ้นติง.
หาญ จินดา. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารกับการปฏิบัติงานด้านบริการสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (2556). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา.
Cohen, J. M. and Uphoff, N. T. (1980). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. New York: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
World Health Organization. (2020). Reducing risks, Promoting healthy life. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.