การออกแบบเบาะรองนั่งพื้นแบบปรับระดับได้ของกลุ่มนิสิตที่เรียนออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ชนิกานต์ กลัดใจบุญ
  • โชติกา นิ่มพระยา
  • วรดา รุ้งรุ่งรัศมี
  • ศักดิ์อนันต์ อินทศรี
  • สายฝน ผุดผ่อง
  • พรรณวดี สิงห์แก้ว
  • ศุภกาญจน์ แก่นท้าว
  • ประกาศิต ทอนช่วย
  • น้ำเงิน จันทรมณี
  • นัฐพล ปันสกุล
  • ศศิวิมล บุตรสีเขียว

คำสำคัญ:

เบาะรองนั่ง, เบาะรองนั่งแบบปรับระดับได้, การยศาสตร์, ออนไลน์

บทคัดย่อ

         การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกอาการปวดของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในการนั่งเรียนออนไลน์  คะแนนความเสี่ยงท่าทางของการนั่งเรียนออนไลน์  และเปรียบเทียบ  ระดับความพึงพอใจของการนั่งพื้น  เบาะรองนั่งพื้นทั่วไป  และเบาะรองนั่งพื้นแบบปรับระดับได้ (90, 110 และ 120)  ในขณะเรียนออนไลน์  โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตที่ต้องนั่งเรียนออนไลน์  จำนวน  34 คน  ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย เบาะรองนั่งพื้นแบบปรับระดับได้  3 ระดับ  (90,  110  และ  120)  แบบประเมินความเสี่ยงท่าทางการทำงาน    เพื่อประเมินท่าทางลักษณะ   การนั่งเรียนออนไลน์    โดยใช้แบบประเมิน  (Rapid  Upper  Limp  Assessment  ;  RULA)   ความพึงพอใจในการใช้เบาะรองนั่งชนิดต่างๆ และแบบสัมภาษณ์ ข้อมูลทั่วไป  เช่น  เพศ  น้ำหนัก  ส่วนสูง  ระยะเวลาที่เรียนออนไลน์  อาการปวดของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้   สถิติเชิงพรรณนา คือ  จำนวน  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐาน และการใช้  One-Way ANOVA  ในการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความเสี่ยงท่าทางการนั่งเรียนออนไลน์ และความพึงพอใจในการนั่งเรียนออนไลน์โดยการนั่งพื้น และการใช้เบาะชนิดต่าง ๆ

          ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (73.53%) ซึ่งมีอาการปวดเมื่อยในขณะที่เรียนออนไลน์  (100.00%)   โดยมีอาการปวดส่วนต่าง ๆ    ของร่างกายทางด้านซ้ายและด้านขวามากที่สุด  คือ  หลังส่วนล่าง  (35.29%)  ความถี่ของอาการปวดเมื่อยส่วนใหญ่   3 - 4   วัน/สัปดาห์   ผลการเปรียบเทียบคะแนนความเสี่ยง   ท่าทางการนั่งเรียนออนไลน์เบาะรองนั่งพื้นแบบปรับระดับได้ 90และ 110 มีคะแนนความเสี่ยงท่าทางการนั่งเรียนออนไลน์น้อยกว่าการนั่งพื้น   เบาะรองนั่งพื้นแบบทั่วไป   และเบาะรองนั่งพื้นแบบปรับระดับได้  120  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ที่ระดับ  p < 0.001   นอกจากนี้  ยังพบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจในการใช้เบาะรองนั่งแบบปรับระดับได้  (90110และ 120) มากกว่าการนั่งพื้นและเบาะรองนั่งพื้นทั่วไป  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  p  < 0.001 โดยกลุ่มตัวอย่าง  มีความพึงพอใจต่อเบาะรองนั่งพื้นแบบปรับระดับได้   ( 90,  110  และ 120) มากที่สุด

        ดังนั้นการใช้เบาะรองนั่งที่สามารถปรับระดับเอนหลังได้ที่ 90 และ110 องศา สามารถลดความปวดเมื่อยและอาการบาดเจ็บในขณะที่ต้องเรียน หรือทำงานออนไลน์ได้

References

จันทณี นิลเลิศ. (2560). การนั่งตามหลัการยศามสตร์. วารสารเวชบันทึกศิริราช. 10(3), 23-28.

ชายหาญ รุ่งศิริแสงรัตน์. (2559). คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม . https://www.samitivejhospitals.com/th/computer-vision-syndrome/.

เดชวิน หลายศิริเรื่องไร, ศิริวรรณ ยศสูงเนิน, วรวรรณ เอกบุตร และประเสริฐ สกุลศรีประเสริฐ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของความเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างและจำกัดพิสัยการเคลื่อนไหว. ศรีนครินทร์เวชสาร. 35(5), 545-551.

ทิพานันท์ ตุ่นสังข์, ภัทรพรรณ บุญศิริ, วิภาดา ศรีเจริญ, นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว ส ารวยรื่น, เอกภพ จันทร์สุคนธ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่ออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 13(2), 254-266.

ประภัสสร เส้งสุ้น และกันต์ฤทัย สิริวรกุลศักดิ์. (2562). การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงท่าทางและความรู้สึกไม่สบายของร่างกายขณะนั่งเรียนด้วยโต๊ะและเก้าอี้ 2 รูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 25(4), 56-66.

สกุนตลา แซ่เตียว, ทรงฤทธิ์ทองมีขวัญ และวรินทร์ลดา จันทวีเมือง. (2562). ผลของโปรแกรมให้ความรู้ต่อการรับรู้ความเสี่ยงอันตรายและพฤติกรรมป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานหน่วยงานราชการพื้นที่เขตเมืองสงขลา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 6(29), 48-59.

สุภารัตน์ สุขโท, ปริยาภัทร สิงห์ทอง, ภควัต ไชยชิต และวาสนา หลงชิน. (2563). ผลระยะสั้นของการนวดไทยแบบราชส้านักในผู้มีอาการของโรคปลายปัตคาดสัญญาณ 4 หลัง. วารสารหมอยาไทยวิจัย. 6(1), 1-20.

Chaiklieng, S. and Nithihamthada, R. (2016). Factors associated with neck, shoulder, and back pain among dental personnel of government hospitals in Khon province. Journal of Public Health. 46(1), 32-46.

Patrisina, R. and Utami, S.W., (2019). Work Posture Analysis at The Spinning Department of Textile Industry using Rapid Upper Limb Assessment Method. http://aasic.org/proc/aasic/article/viewFile.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023