ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ชมรมผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี และเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 330 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีการรับรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุในภาพรวม การรับรู้การดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในภาพรวม และการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุในภาพรวม อยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 100 ทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุในภาพรวม ส่วนใหญ่มีความคิดเห็น อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 98.2 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา ปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับ การดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05
ผลการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ควรมีการส่งเสริมการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2557). กิจกรรมส่งเสริมและเครือข่ายผู้สูงอายุ จำนวนชมรมผู้สูงอายุ. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รูปแบบการเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในชมรมสร้างสุขภาพ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การออกกำลังกายทั่วไปและเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
บรรลุ ศิริพานิช. (2562). เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
พีรศิลป์ คำนวณศิลป์, ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ, จอร์น ไบรอัน และอารีย์ พรมโม้. (2557). การประเมินนโยบายด้านแผนงานด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกระทรวงสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันธ์.
พิชิต ลายน้ าเงิน. (2562). การจัดการแบบมีส่วนร่วมสำหรับการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุอำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการระบบสุขภาพ). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2557). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบันการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
ระวิ แก้วสุกใส. (2555). ความเข้มแข็งของชมรมผู้สูงอายุวัดค าในอ าเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน . (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาลักษณ์ เขียวขำ. (2563). การสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ และคณะ. (2542). การส ารวจภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐในกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ปี พ.ศ. 2542. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
อนุชิต นิติธรรมยง และคณะ. (2545). การศึกษาพัฒนารูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยใช้การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน กรณีศึกษาตำบลเจดีย์หัก อ าเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (รายงานการวิจัย). ราชบุรี.
อรพินท์สพโชคชัย. (2563). คู่มือการจัดประชุมเพื่อการระดมความคิดในการพัฒนาหมู่บ้านโดยพลังประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
Bloom B. (1964). Taxanomy of educational objectives. The classification of educational goal. New York: David Makay Co Inc.
Madkour AS, and other. (2010). Early adolescent sexual initiation as a problem behavior: A comparative study of five nations. Journal of Adolescent Health. 47(4), 389-98.
Wayne W Daniel. (2010). Determination of sample size for estimating propositions. In Wayne W Daniel (Ed.), Biostatistics: A Foundation for analysis in the health science. New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.