ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา หมู่ 9 บ้านผือฮี ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ ชูพันธ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, อาหาร

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิจัยเรื่อง   ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ   พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา หมู่ 9 บ้านผือฮี ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาวิจัยแบบสำรวจ  (Survey  Research) มีวัตถุประสงค์  1.) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ   2.)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง  ปัจจัยส่วนบุคคล  กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ    3.)   เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง  ความรู้ ทัศนคติ  กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ  ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  คือ ผู้สูงอายุ  จำนวน 83 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  จำนวน 68 คน  เครื่องมือใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์  ที่มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน

                 ผลการศึกษาวิจัย  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่  เป็นเพศหญิง  จำนวน  39  คน คิดเป็นร้อยละ 57.4  มีอายุระหว่าง 60-65  จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 44.1  มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 46-50 และ 51-55  จำนวน 13 คน  คิดเป็นร้อยละ 19.1  มีส่วนสูงระหว่าง 146-150 จำนวน 21 คน  คิดเป็นร้อยละ 30.9  มีค่า BMI  อยู่ในระดับสมส่วน  จำนวน 35 คน  คิดเป็นร้อยละ  51.5   ไม่มีโรคประจำตัว  จำนวน  35  คน  คิดเป็นร้อยละ  51.5   มีสถานภาพสมรส จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 57.4  มีรายได้ 500-1,000 บาท จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 91.2  อาศัยอยู่บ้านตนเอง จำนวน 64 คน  คิดเป็นร้อยละ 94.1  ท่านดื่มสุรา  ไม่ดื่ม  จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 82.4 ท่านสูบบุหรี่ไม่สูบ จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 89.7 การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ  การบริโภคอาหาร  อยู่ในระดับน้อย   (gif.latex?\bar{x}  = 1.45,  S.D  = .63)  ด้านความรู้  พบว่า  โดยรวมผู้สูงอายุ  มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร  อยู่ในระดับความรู้มาก (gif.latex?\bar{x} = 2.36,  S.D= .73)   ด้านทัศนคติ  เกี่ยวกับการการบริโภคอาหาร  อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x}  =  2.07,  S.D  =  .26)    ด้านพฤติกรรม  การบริโภคอาหาร   อยู่ในระดับปฏิบัติ   ทุกครั้ง (gif.latex?\bar{x}  = 2.66,  S.D  = .47)

References

ดวงดาว ปิงสุแสน. (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลทุ้งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขสาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.

รื่นจิต เพชรชิต. (2558). พฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเคียนวา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2(2), 15-28.

สุวิทย์โรจนศักดิ์โสธร. (2559). สถานการณ์โรคไม่ติดต่อ จังหวัดนครราชสีมา ปี 2559. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-02-2023